ใจความสะกิดใจ คำบรรยายกฎหมายอาญา ม.59-106 อ.เกียรติขจร_W04_17-06-59_ปกติ

สัปดาห์ที่ ๔


โครงสร้างข้อ 1.3 คือ การกระทำครบองค์ประกอบภายใน ของความผิดในเรื่องนั้นๆ

การกระทำที่ครบองค์ประกอบภายในของความผิดนั้นเรื่องนั้นๆ
ความผิดอาญานั้น องค์ประกอบภายในโดยหลักก็คือเจตนา ทั้งนี้เพราะมาตรา 59 บัญญัติไว้ว่า บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำโดนเจตนา
แต่ความผิดอาญาบางมาตรานั้น แม้ผู้กระทำไมมีเจตนา แต่ถ้ากระทำประมาท ผู้กระทำจะต้องรับผิด แต่จะต้องเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท
ความผิดอาญาบางฐาน แม้ผู้กระทำไม่เจตนาและไม่ประมาท ผู้กระทำก็จะต้องรับผิด ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 59 วรรคหนึ่ง ตอนท้าย ที่ว่า เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา

แสดงว่าความผิดอาญาบางฐานนั้นแม้ผู้กระทำความไม่มีเจตนาและไม่ประมาท ผู้กระทำก็จะต้องรับผิด ซึ่งจะได้แก่ความผิดลหุโทษ ทั้งนี้ตามที่มาตรา 104 บัญญัติไว้ว่า การกระทำความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายนี้ แม้กระทำโดยไม่มีเจตนาก็เป็นความผิด
แต่ความผิดลหุโทษนั้น บางมาตรา ผู้กระทำต้องเจตนาหรือต้องประมาทอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงจะเป็นความผิด อันนี้ก็เป็นข้อยกเว้นตามที่มาตรา 104 บัญญัติไว้ว่า เว้นแต่ตามบทบัญญัติความผิดนั้นจะมีความบัญญัติให้เห็นเป็นอย่างอื่น

ข้อสังเกต ความผิดที่ผู้กระทำ ไม่มีเจตนาและไม่ประมาทผู้กระทำก็มีความผิดนี้ เรียกว่า ความผิดโดยเด็ดขาดหรือ strict liability

เจตนา การพิจารณาเรื่องเจตนานั้นอาจจะแยกออกได้เป็น 2 กรณี คือ
1. เจตนตามความเป็นจริง ได้แก่ เจตนาประสงค์ต่อผล หรือเจตนาเล็งเห็นผล
2. เจตนาโดยผลของกฎหมาย ซึ่งหมายความว่า แม้ผู้กระทำไม่ประสงค์ต่อผล และไม่เล็งเห็นผล แต่กฎหมายก็ถือว่าผู้กระทำมีเจตนา คือเจตนาโดยพลาด ตามมาตรา 60

เจตนาตามความเป็นจริง คือเจตนาประสงค์ต่อผล หรือเล็งเห็นผล มาตรา 59 ได้บัญญัติเกี่ยวกับเจตนาไว้ใน วรรคสองและ วรรคสาม จากบทบัญญัติในมาตรา 59 วรรคสอง และวรรคสาม จะเห็นได้ว่า ในการที่จะถือได้ว่าผู้กระทำมีเจตนาได้นั้น จะต้องเป็นไปในกรณีดังต่อไปนี้
1. ผู้กระทำต้อง รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอก ของความผิดฐานนั้นๆ (หลักนี้มาจากมาตรา 59 วรรคสาม) หลักในข้อ 1 เราเรียกว่าหลักในเรื่อง รู้และ
2. ผู้กระทำจะต้อง ประสงค์ต่อผลของการกระทำของตนนั้น หรือมิฉะนั้นก็จะต้อง เล็งเห็นผลของการกระทำของตนนั้น (หลักนี้มาจากมาตรา ๕๙ วรรคสอง) ตัวอย่าง ประสงค์ให้ดำตาย เพราะใช้ปืนซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงยิงไปที่หน้าอกของดำ อันเป็นอวัยวะสำคัญ (เอาเรื่อง รู้ตามาตรา ๕๙ วรรคสามขึ้นมาก่อน แล้วก็ตามด้วยเรื่องประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผล ตามมาตรา ๕๙ วรรคสอง

เรื่อง รู้ตามมาตรา ๕๙ วรรคสาม
หลักคือผู้กระทำต้อง รู้ข้อเท็จจริง อันเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิดฐานนั้นๆ จึงจะถือว่าผู้กระทำมีเจตนากระทำความผิดฐานนั้นๆ
ข้อเท็จจริง คือ Fact ข้อเท็จจริงนี้ เป็น องค์ประกอบภายนอกของความผิดมาตรานั้นๆ องค์ประกอบภายนอกคือ ผู้กระทำ การกระทำ และวัตถุแห่งการกระทำ
มาตรา ๖๒ วรรคสอง ได้บัญญัติไว้ส่วนหนึ่งว่า ถ้าความไม่รู้ข้อเท็จจริงตามความในวรรคสามแห่งมาตรา ๕๙ ได้เกิดขึ้นด้วยความประมาทของผู้กระทำความผิด ให้ผู้กระทำรับผิดฐานกระทำโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะว่า การกระทำนั้นผู้กระทำจะต้องรับโทษแม้กระทำโดยประมาท
มาตรา ๖๒ วรรคท้าย บุคคลจะต้องรับโทษหนักขึ้นโดยอาศัยข้อเท็จจริงใดบุคคลนั้นจะต้องได้ รู้ข้อเท็จจริงนั้น โดยการใช้ถ้อยคำมาตรา ๖๒ วรรคท้ายใช้คำว่า รับโทษหนักขึ้นโดยอาศัยข้อเท็จจริงใด

มีการใช้ถ้อยคำในฎีกาหลากหลายรูปแบบดังนี้
(1) เหตุที่ต้องรับโทษหนักขึ้น
(๒) ลักษณะฉกรรจ์
(๓) เหตุฉกรรจ์
ข้อสังเกต คำที่ใช้กันแพร่หลายคือ เหตุฉกรรจ์อย่าไรก็ตาม ไม่ว่าจะใช้ถ้อยคำอย่าใด ก็ต้องใช้มาตรา ๖๒ วรรคท้าย กล่าวคือ รับโทษหนักขึ้นต้องรู้ข้อเท็จจริงนั้นโดยอย่าปะปนกับ ผลฉกรรจ์คือ ผลที่ต้องรับโทษหนักขึ้น เช่น ความตาย ตามมาตรา 339 วรรคท้าย ซึ่งต้องให้หลักผลธรรมดา คนละเรื่องกับมาตรา 62 วรรคท้าย

เมื่อพิจารณาบทบัญญัติในมาตรา 59 วรรคสาม ประกอบกับมาตรา 62 วรรคท้าย ได้หลัก 3 หลักดังนี้
หลักข้อที่ 1 ไม่รู้ ไม่มีเจตนาหมายความว่า ถ้าผู้กระทำ ไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิด ก็ถือว่าผู้กระทำไม่มีเจตนากระทำความผิด (หลักจากมาตรา 59 วรรคสาม)
หลักข้อที่ 2 รู้เท่าใด มีเจตนาเท่านั้นหมายความว่า ถ้าผู้กระทำรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิดใด ก็ถือว่าผู้กระทำมีเจตนากระทำความผิดนั้นเท่านั้น
หลักข้อที่ 3 รู้เท่าใด มีเจตนาเท่านั้นแต่ไม่เกินความเป็นจริงหมายความว่า ถ้าผู้กระทำรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิดใด ก็ไม่ต้องรับผิดเกิดไปกล่าวข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้นจริงๆ ในขณะนั้นๆ
ข้อสังเกต อย่างไปติดใจในเรื่องถ้อยคำ ไม่ว่าถ้อยคำจะใช้คำว่า ไม่รู้” “เข้าใจผิดสำคัญผิดถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับองค์ประกอบภายนอกของความผิดแล้ว นั่นคือการ ไม่รู้ข้อเท็จจริงตามความหมายของมาตรา 59 วรรคสาม ตามหลักที่ว่า ไม่รู้ ไม่มีเจตนานั้นเอง

สรุปข้อควรจำ
1. มาตรา 59 วรรคสาม ไม่รู้ไม่มีเจตนา)
2. มาตรา 62 วรรคแรก รู้แล้ว มีเจตนาแล้ว แต่สำคัญผิดในข้อเท็จจริงว่า มีเหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ
3.ถ้าความไม่รู้ข้อเท็จจริงตามความในวรรคสามแห่งมาตรา 59 ได้เกิดขึ้นด้วยความประมาทของผู้กระทำความผิด ให้ผู้กระผิดฐานกระทำโดยประมาทในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉาพะว่า การกระทำนั้นผู้นกระทำจะต้องรับโทษแม้กระทำโดยประมา
-ไม่รู้ข้อเท็จจริง ตามที่บัญญัติในมาตรา 62 วรรคสอง หมายถึง ไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิด คือการไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด
-เกิดขึ้นด้วยประมาท หมายความว่า ประมาทตามหลักเกณฑ์ของมาตรา 59 วรรคสี่ นั้นเอง คือ มาตรา 62 วรรคสอง บัญญัติไว้โดยมุ่งหมายเพียงย้ำให้เห็นว่าแม้ไม่มีเจตนาเพราะ  “ไม่รู้ข้อเท็จจริงแต่ถ้าความไม่รู้เกิดขึ้นเพราะความประมาทก็จะต้องรับผิดฐานประมาท แต่อย่างไรเป็น ประมาทต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของมาตรา 59 วรรคสี่


#สะกิดต่อมกฎหมาย
กดฟังคำบรรยายเลย ตรงนิ ตรงนินะ


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อาวุธ ตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา

การรับมรดกความในคดีอาญา

หลักการแปลงหนี้ใหม่