หลักการแปลงหนี้ใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2537

ป.พ.พ. มาตรา 149, 180, 193/14

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการโรงพยาบาลจำเลยทำหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 ไว้ต่อโจทก์ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ที่ นางสาวคำพันธ์ ตั้นภูมิ ค้างชำระค่ารักษาพยาบาลเป็นเงิน 18,600 บาท ครบกำหนดจำเลยไม่ชำระโจทก์ทวงถามแต่จำเลยก็เพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 30,119บาท พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยให้การว่า จำเลยเป็นเพียงผู้ประกันการชำระหนี้ของนางสาวคำพันธ์ ตั้นภูมิ โจทก์ชอบที่จะเรียกให้นางสาวคำพันธ์ชำระหนี้ก่อน ไม่ชอบที่จะฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โจทก์ฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาลโดยอาศัยสัญญารับสภาพหนี้ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 จากจำเลย สิทธิเรียกร้องดังกล่าวมีกำหนดอายุความ 2 ปีนับแต่เกิดสิทธิเรียกร้องได้ล่วงเลยมาเป็นเวลา 8 ปีเศษแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลเคลือบคลุม ขอให้ยกฟ้อง

  • ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องคำให้การแล้ว เห็นว่า คดีพอวินิจฉัยได้ให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้ววินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 เป็นหนังสือรับสภาพหนี้คดีโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้อง
  • โจทก์อุทธรณ์
  • ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้จำเลยชำระเงิน 30,119 บาท พร้อมดอกเบี้ย
  • จำเลยฎีกา
  • ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยในปัญหาข้อกฎหมายมีว่า บันทึกข้อตกลงตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 เป็นหนังสือรับสภาพหนี้หรือเป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยจำเลยให้เหตุผลว่า การที่จำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้ค่ารักษาพยาบาลของนางสาวคำพันธ์ตั้งภูมิ ถือว่าเป็นการรับสภาพหนี้ไว้ต่อโจทก์ ส่วนการขยายระยะเวลาการชำระหนี้ออกไปอีก 1 เดือน หาใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของหนี้เดิมและการที่จำเลยทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวมิได้เป็นการปลดเปลื้องหนี้สินที่นางสาวคำพันธ์มีต่อโจทก์ จึงไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ ตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ และคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้ว ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้ฟังมาว่า จำเลยได้ทำหนังสือสัญญาตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 ไว้ต่อโจทก์มีสาระสำคัญว่า จำเลยขอรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ว่านางสาวคำพันธ์ได้เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลโจทก์เป็นเงิน 24,300 บาท ขณะนี้จำเลยยังค้างชำระค่ารักษาพยาบาลของนางสาวคำพันธ์เป็นเงิน 18,600 บาทจำเลยสัญญาว่าจะชำระให้โจทก์เสร็จสิ้นภายในวันที่ 21 กุมภาพันธ์2525 หากจำเลยไม่ชำระให้โจทก์ดำเนินการตามกฎหมายได้ เห็นว่าการรับสภาพหนี้เป็นการที่ลูกหนี้รับสภาพต่อเจ้าหนี้ว่าจะชำระหนี้ให้ ดังนั้นการที่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิได้เป็นลูกหนี้ผูกพันตนเข้าชำระหนี้ให้โจทก์จึงไม่เป็นการรับสภาพหนี้ ส่วนการแปลงหนี้ใหม่นั้น แม้จำเลยทำสัญญาไว้ต่อโจทก์ว่าจะชำระหนี้ซึ่งนางสาวคำพันธ์เป็นหนี้โจทก์ให้โจทก์ก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์เจ้าหนี้ตกลงให้หนี้ของนางสาวคำพันธ์ระงับไป จึงไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้โดยอาศัยหนังสือสัญญาเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 เป็นหลัก แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า เอกสารดังกล่าวเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ ศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยว่า หนังสือสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาประเภทใดตามที่ถูกต้องแท้จริงได้ ตามสัญญาเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 เป็นเพียงแต่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผูกพันตนเข้าชำระหนี้ที่นางสาวคำพันธ์ค้างชำระให้โจทก์สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นสัญญาประเภทหนึ่ง ซึ่งคู่สัญญากระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ และเมื่อหนี้ตามสัญญานี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ ก็ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/30 ใหม่)นับแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2525 ซึ่งเป็นวันที่หนี้ถึงกำหนดชำระถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาจำเลยฟังไม่ขึ้น"พิพากษายืน

อธิบาย   "การแปลงหนี้ใหม่"
ความหมายของการแปลงหนี้ใหม่
-เป็นการที่คู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้ตกลงกันให้หนี้เดิมระงับและบังคับกันตามหนี้ที่ตกลงกันใหม่
-โดยมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้เดิม
-อาจเป็นการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้เปลี่ยนแปลงตัวลูกหนี้ หรือเปลี่ยนวัตถุแห่งหนี้
-มีผลให้หนี้เดิมระงับ
หลักเกณฑ์ของการแปลงหนี้ใหม่
มีหลักเกณฑ์สำคัญ 4 ประการคือ
1. มีหนี้เดิมที่คู่กรณีจะให้ระงับไป
2. คู่กรณีทำสัญญาแปลงหนี้เดิมเป็นหนี้ใหม่
3. มีการเปลี่ยนสาระสำคัญของหนี้เดิม
4. มีหนี้ใหม่เกิดขึ้นแทนหนี้เดิม

1. มีหนี้เดิมที่คู่กรณีจะให้ระงับไป
-แปลงหนี้ใหม่จะมีได้ก็ต่อเมื่อมีหนี้เดิมอยู่
-หนี้ตามหน้าที่ศีลธรรม หนี้ขาดอายุความ หรือ
หนี้ที่ขาดพยานหลักฐาน แปลงหนี้ใหม่ได้
-แต่หนี้การพนัน นำมาแปลงหนี้ใหม่ไม่ได้
- ไม่มีหนี้ต่อกัน แม้ทำเป็นสัญญากู้ให้ไว้ ไม่เป็นแปลงหนี้ใหม่ (.1826/2529)

2. คู่กรณีทำสัญญาแปลงหนี้เดิมเป็นหนี้ใหม่
- ต้องทำเป็นสัญญา แปลงหนี้ใหม่ไม่อาจเกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาฝ่ายเดียว
การที่ลูกหนี้ฝ่ายเดียวทำสัญญายอมใช้หนี้แก่เจ้าหนี้เป็นการรับสภาพหนี้ ไม่ใช่แปลงหนี้ใหม่
- การที่บุคคลภายนอกฝ่ายเดียวขอชำระหนี้แทนลูกหนี้ โดยเจ้าหนี้ไม่ได้ตอบสนองอย่างใด ไม่เป็นการ
แปลงหนี้ใหม่ คำเสนอของบุคคลภายนอกย่อมตกไป (.1092/2509)
- การที่ ท.ฝ่ายเดียวทำหนังสือรับสภาพหนี้และขอรับใช้
หนี้ของลูกหนี้ โดยเจ้าหนี้มิได้ร่วมลงชื่อด้วย ไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ (.339/2538)

- การแปลงหนี้ใหม่โดยถูกต้อง มีผลให้หนี้เดิมระงับไปต้องไปบังคับตามหนี้ใหม่
-เช่น แดงเป็นลูกหนี้เงินกู้นายขาว ได้ทำสัญญาขายฝากที่ดินไว้แก่นายขาวเจ้าหนี้ โดยเอาหนี้ตามสัญญาเงินกู้มารวมเป็นราคาขายฝาก หนี้ตามสัญญาเงินกู้ย่อมระงับไป ต้องบังคับตามสัญญาขายฝาก (.1271/2533)

ข้อสังเกต
- เจตนาของเจ้าหนี้ที่จะทำสัญญาแปลงหนี้ใหม่ ต้องแจ้งชัดและเป็นไปในทางรับรองหนี้ มิใช่ปฎิเสธหนี้
เดิม แต่เป็นเรื่องสละหนี้เดิมมาบังคับตามหนี้ใหม่
- กรณีข้อเท็จจริงยังไม่ชัดเจน ให้สันนิษฐานว่าเจ้าหนี้ยังไม่มีเจตนาแปลงหนี้ใหม่
 เช่น บุคคลภายนอกขอชำระหนี้แทน เจ้าหนี้ยอมรับและมีข้อตกลงขยายเวลาชำระหนี้ เปลี่ยนสถานที่
ชำระหนี้ มอบให้ผู้อื่นชำระหนี้แทน รับชำระหนี้อย่างอื่น เพิ่มหนี้ ลดหนี้ ยังไม่ถือว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่

) คู่กรณีที่เกี่ยวข้อง
1) แปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้
ลูกหนี้ เจ้าหนี้เดิมและเจ้าหนี้ใหม่ต้องตกลงกันด้วยทั้งสามฝ่าย จึงจะมีผลให้หนี้ระหว่างเจ้าหนี้
เดิมและลูกหนี้ระงับไป
 2) แปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้
- เจ้าหนี้และลูกหนี้ใหม่จะต้องตกลงด้วยจึงจะมีผลผูกพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ใหม่ได้ (ลูกหนี้เดิม
ไม่ต้องทำสัญญาด้วยก็ใช้ได้)

) แบบของสัญญา
-การแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ จะต้องปฏิบัติตามวิธีการของการโอนสิทธิเรียกร้องด้วย
(. 349 วรรค 3)
- ถ้าแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ .350 มิได้กำหนดให้ต้องทำเป็นหนังสือแต่อย่างใด แม้จะได้
ทำเป็นหนังสือก็ไม่ต้องให้เจ้าหนี้และลูกหนี้ใหม่ลงลายมือชื่อ และกฎหมายดังกล่าวมิได้กำหนดให้เจ้า
หนี้ต้องแจ้งให้ลูกหนี้คนเดิมทราบ (.6187/2539

3. มีการเปลี่ยนสาระสำคัญของหนี้เดิม
สิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญของหนี้
! 1) เงื่อนไขของหนี้
! 2) เปลี่ยนตัวเจ้าหนี้
! 3) เปลี่ยนตัวลูกหนี้
! 4) เปลี่ยนวัตถุแห่งหนี้
! 5) เปลี่ยนตัวทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้
! 6) เปลี่ยนมูลหนี้

1) เปลี่ยนเงื่อนไขของหนี้ (.349 .2)
มาตรา 349 วรรคสอง ถ้าทำหนี้มีเงื่อนไขให้กลายเป็นหนี้ปราศจากเงื่อนไขก็ดี เพิ่มเติมเงื่อนไขเข้าในหนี้อันปราศจากเงื่อนไขก็ดี เปลี่ยนเงื่อนไขก็ดี ท่านถือว่าเป็นอันเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้นั้น
การเปลี่ยนเงื่อนไขของหนี้ จึงมี 3 วิธี ดังนี้
! 1) ทำให้หนี้มีเงื่อนไขให้กลายเป็นหนี้ปราศจากเงื่อนไข
! 2) เพิ่มเติมเงื่อนไขเข้าในหนี้อันปราศจากเงื่อนไข
! 3) เปลี่ยนเงื่อนไข

2) เปลี่ยนตัวเจ้าหนี้
-ลูกหนี้ เจ้าหนี้เดิมและเจ้าหนี้ใหม่ต้องตกลงกันด้วยทั้งสามฝ่าย
- ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยโอนสิทธิเรียกร้องมาใช้บังคับ (.349 .3)
 -มีผลให้ลูกหนี้ไม่อาจยกข้อต่อสู้ที่มีต่อเจ้าหนี้เดิมขึ้นสู้เจ้าหนี้ใหม่ได้ (.308 .แรก)

 หลักเกณฑ์
 1.ต้องทำเป็นหนังสือ
 2.ต้องบอกกล่าวแก่ลูกหนี้ หรือลูกหนี้ยินยอมเป็นหนังสือ (.306)

-หากลูกหนี้ไม่ตกลงยินยอมด้วยเป็นหนังสือ
!- มีผลทำให้เจ้าหนี้ใหม่ไม่สามารถบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้
!- เช่น ลูกหนี้ล้มละลาย เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้
โดยเอาหนี้ส่วนของภริยาเจ้าหนี้มารวมเข้าด้วย
เป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ แต่คู่
กรณีไม่ได้ปฎิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยการโอนสิทธิ
เรียกร้อง เจ้าหนี้จึงไม่อาจขอรับชำระหนี้ส่วนของ
ภริยาได้ (.451/2512)
3) เปลี่ยนตัวลูกหนี้
-เจ้าหนี้และลูกหนี้ใหม่จะต้องตกลงกันเป็นสัญญา
-หากไม่ได้มีการตกลงกันไว้ ลูกหนี้ใหม่ไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ของลูกหนี้เดิมมาต่อสู้กับเจ้าหนี้ได้

ข้อสังเกต
! ลูกหนี้เดิมไม่ต้องเข้าทำสัญญาด้วย แต่ต้องไม่
คัดค้าน
! แต่ถ้าเป็นกรณีเจ้าหนี้ต้องการให้หนี้ของลูกหนี้
เดิมระงับแม้ลูกหนี้เดิมไม่ยินยอม ก็ย่อมทำได้

4) เปลี่ยนวัตถุแห่งหนี้
-คือกรณีเดิมลูกหนี้มีหนี้จะต้องชำระให้เจ้าหนี้อย่างหนึ่ง
แล้วคู่กรณีตกลงกันให้ลูกหนี้ชำระหนี้อย่างอื่นแทน
! -โดยการแปลงหนี้อื่นมาเป็นหนี้เงินกู้
!- เช่น หนึ่งซื้อเครื่องปรับอากาศของนายสอง โดยชำระ
ราคาให้บางส่วน ส่วนที่ค้างหนึ่งกับสองตกลงกันให้
นายหนึ่งถ่ายวีดีโอโฆษณากิจการร้านค้าของนายสอง
ให้แทน
! -หรือ แปลงหนี้ใหม่จากหนี้ค่าที่ดินมาเป็นหนี้เงินกู้ (.
4773/2533)
-การเปลี่ยนสัญญาหนึ่งมาเป็นผูกพันตามสัญญาอีกอันหนึ่ง โดยให้สัญญาเดิมระงับไป
!- เช่น โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายรถยนต์ต่อมาโจทก์จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์
คันเดิมในราคาเดียวกัน โดยให้สัญญาซื้อขายสิ้นผลผูกพัน เป็นการแปลงหนี้ใหม่โดย
เปลี่ยนวัตถุแห่งหนี้ (.7138/2544)

5) เปลี่ยนตัวทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้
-คือกรณีที่ลูกหนี้จะต้องส่งมอบทรัพย์ชนิดหนึ่งให้แก่เจ้าหนี้แล้วคู่กรณีตกลงกันใหม่ให้ลูกหนี้ส่งมอบทรัพย์อย่างอื่นแทน
! ตัวอย่างเช่น .ทำสัญญาส่งหัวหอมขายให้ ข. จำนวน50,000 บาท ต่อมา ก.กับ ข.ทำสัญญากันใหม่ให้ ก.ส่งกระเทียมไปให้แทนหัวหอม โดยมีเจตนาเลิกสัญญาเดิมไปผูกพันตามสัญญาใหม่
! หรือ โจทก์จำเลยตกลงกันให้จำเลยเอาบ้านตีใช้หนี้เงินกู้ให้โจทก์ โดยให้โจทก์รื้อบ้านไปใน 5 วัน เป็นแปลงหนี้ใหม่โจทก์จะฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาเงินกู้อีกไม่ได้ (.1008/2496)

6) เปลี่ยนมูลหนี้
-คือกรณีที่ลูกหนี้ต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ตามมูลหนี้ชนิด
หนึ่ง แล้วเจ้าหนี้ลูกหนี้ตกลงกันให้ลูกหนี้รับผิดตามมูล
หนี้อีกชนิดหนึ่ง
! -เช่น แดงเป็นลูกหนี้เงินกู้นายขาว 500,000 บาท โดยแดงเอาที่ดินมาจำนองเป็นประกันหนี้เงินกู้ ต่อมาแดงผู้จำนองตกลงขายที่ดินที่จำนองให้แก่ขาว (ผู้รับจำนอง)โดยแดงกับขาวตกลงกันให้หนี้จำนองเป็นการชำระราคาส่วนหนึ่ง ย่อมเป็นการแปลงหนี้จำนองมาเป็นหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขาย แดงผู้จำนองย่อมหมดสิทธิไถ่ถอนที่ดิน (.30/2488)

สิ่งซึ่งไม่ถือว่าเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้
เช่น วันเวลาแห่งการชำระหนี้ สถานที่ชำระหนี้วิธีการชำระหนี้ เงื่อนเวลา หลักประกันแห่งหนี้
!- หรือเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวกับหนี้ เช่น ดอกเบี้ย ค่า
เสียหาย การรวมหนี้เข้าด้วยกัน
! -การรับสภาพหนี้
-การที่ผู้กู้และผู้ให้กู้ตกลงกันทำสัญญากู้ใหม่โดยรวมเงินกู้เก่าและใหม่เข้าด้วยกันมิใช่
เป็นการแปลงหนี้ใหม่ เพราะไม่มีการเปลี่ยนสาระสำคัญแห่งหนี้ (.522/2505)
! -การรับสภาพหนี้แสดงอยู่ในตัวว่าหนี้เดิมยังอยู่ และยอมรับหนี้เดิมจึงไม่เป็นการเปลี่ยน
สิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ (.879/2509
-การที่มีการให้ประกันแก่หนี้ หากหนี้เดิมยังคงอยู่และไม่มีการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญอะไรของหนี้ จึงไม่เป็นแปลงหนี้ใหม่เช่นกัน
!-เช่น จำเลยเป็นหนี้ค่าเลี้ยงอาหารแก่โจทก์ จำเลยจึงทำสัญญากู้ให้ไว้ ที่จำเลยทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้ก็เพราะโจทก์ไม่ไว้ใจ เกรงว่าจำเลยจะปฏิบัติตามสัญญาไม่ได้ สัญญากู้จึงเป็นแต่เพียงหลักประกันเพื่อ
ให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาเท่านั้น ไม่ใช่การแปลงหนี้ใหม่ เมื่อจำเลยมาชำระเงินค่าอาหารครบถ้วน
แล้วจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญากู้อีก (.548/2517)

4. มีหนี้ใหม่เกิดขึ้นแทนหนี้เดิม
แปลงหนี้ใหม่เป็นการตกลงกันระงับหนี้เดิม เป็นเรื่องที่หนี้เดิมต้องระงับไปแล้วเกิดหนี้ใหม่ขึ้นมา
! -มาตรา 351 “ถ้าหนี้อันจะพึงเกิดขึ้นเพราะแปลงหนี้ใหม่นั้นมิได้เกิดมีขึ้นก็ดี ได้ยกเลิกเสียเพราะ
มูลแห่งหนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันมิรู้ถึงคู่กรณีก็ดี ท่านว่าหนี้
เดิมนั้นก็ยังหาระงับไปไม่

ผลของการแปลงหนี้ใหม่
1) มีผลให้หนี้เดิมระงับไปทำนองเดียวกับการชำระหนี้
หนี้เดิมทั้งส่วนที่เป็นหนี้ประธานและหนี้อุปกรณ์ (เช่น
จำนำ จำนอง ค้ำประกัน) ก็ระงับไปด้วย (.352)
! 2) กรณีหนี้ร่วม ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งได้ทำสัญญาแปลง
หนี้ใหม่กับเจ้าหนี้ ก็มีผลให้หนี้เดิมระงับไปถึงลูกหนี้
ร่วมคนอื่นๆด้วย แต่ลูกหนี้ร่วมคนอื่นจะต้องรับผิดตาม
หนี้ใหม่ด้วยก็ต่อเมื่อยอมตนเข้ารับผิดด้วยเท่านั้น





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อาวุธ ตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา

การรับมรดกความในคดีอาญา