ใจความสะกิดใจ คำบรรยายกฎหมายอาญา ม.59-106 อ.เกียรติขจร_W02_03-06-59_ปกติ

สัปดาห์ที่ 2

 โครงสร้างข้อที่ 1 
การกระทำครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติ
ได้กล่าวมาแล้วว่าการกระทำครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติแยกออกได้เป็นข้อๆดังต่อไปนี้คือ
1. ต้องมีการกระทำ
2. การกระทำนั้นครบองค์ประกอบภายนอกของความผิดในเรื่องอันนั้น
3. การกระทำขององค์ประกอบภายในของความผิดในเรื่องนั้นๆ
4.ผลของการกระทำสัมพันธ์กับการกระทำตามหลักในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล

การกระทำมีความหมายอย่างไรประมวลกฎหมายอาญาไม่ได้บัญญัติความหมายไว้ต้องส่งทีเดียวโดยนัยมาตรา 59 วรรค 4 บัญญัติไว้เพียงว่าการกระทำให้หมายความรวมถึงการให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้นโดยงดเว้นการที่จะต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นแสดงว่ามีความหมายที่กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้แต่กฎหมายระบุไว้เพียงแต่ว่าการกระทำนั้นให้หมายความรวมถึงอีกสิ่งหนึ่งด้วย

เพราะฉะนั้นในทางตำราเราจึงอธิบายว่าการกระทำนั้นหมายความรวมถึงการเคลื่อนไหวร่างกายหรือการไม่เคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้สำนึก กล่าวคืออยู่ภายใต้บังคับของจิตใจ
รู้สำนึกหรืออยู่ภายใต้บังคับของจิตใจท่านอาจารย์หยุดแสงอุทัยปรมาจารย์ทางด้านกฎหมายของไทยอีกทางหนึ่งซึ่งล่วงลับไปนานแล้วท่านได้อธิบายไว้ว่าความหมายดังต่อไปนี้คือ
1 มีความคิดที่จะกระทำ
2 มีการตกลงใจที่จะกระทำตามที่คิดไว้และ
3 ได้กระทำไปกล่าวคือเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกายตามที่ตกลงใจอันสืบเนื่องมาจากความคิด
จากความหมายดังกล่าวนั้นเองการเคลื่อนไหวถึงการไม่เคลื่อนไหวร่างกายของเด็กทารกไร้เดียงสาก็ไม่ถือว่ามีการกระทำคนวิกลจริตหรือคนเมาสุราถึงขนาดไม่รู้สภาพหรือสาระสำคัญในการกระทำของตนก็เช่นเดียวกันไม่ถือว่ามีการกระทำคนละมือคนเป็นลมบ้าหมูคนที่ร่างกายกระตุกโดยไม่รู้ตัวคนที่ถูกค่ะถูกชนถูกจับมือให้กระทำในขณะเผลอผู้ที่ถูกสะกดจิตผู้ที่ร่างกายเคลื่อนไหวเพราะแรงธรรมชาติเช่นแรงลมพายุต้องถึงว่าไม่มีการกระทำเพราะการเคลื่อนไหวร่างกายของบุคคลต่างๆเหล่านั้นไม่ได้เป็นการตกลงใจอันสืบเนื่องมาจากความคิดแต่อย่างใด

มีข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับเรื่องของการกระทำดังต่อไปนี้ต้องพิจารณาให้ดีว่าตามข้อเท็จจริงนั้นเป็นการกระทำของใครเป็นการกระทำของผู้สูญหายหรือของจำเลยถ้าเป็นการกระทำของผู้เสียหายจำเลยไม่ต้องรับผิด

การกระทำนอกจากการเคลื่อนไหวร่างกายแล้วการกระทำยังหมายความรวมถึงการไม่เคลื่อนไหวร่างกายด้วย

การกระทำโดยการไม่เคลื่อนไหวร่างกายแบ่งแยกได้เป็น 2 ประเภทคือ
1 การกระทำโดยงดเว้นและ
2 การกระทำโดยละเว้น

การกระทำโดยงดเว้นกับการกระทำโดยละเว้นต่างกันอย่างไร
การกระทำโดยงดเว้น เป็นการกระทำโดยไม่เคลื่อนไหวร่างกายอย่างหนึ่งมาตรา 59 วรรคท้ายบัญญัติว่าการกระทำให้หมายความรวมถึงการให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้นโดยงดเว้นการที่จะต้องกระทำเพื่อป้องกันผลด้วย
กล่าวโดยสรุปก็คือจะเป็นการกระทำโดยงดเว้นตามมาตรา 59 วรรคท้ายมีหลัก 3 ประการดังต่อไปนี้
1 เป็นการไม่กระทำกล่าวคือไม่เคลื่อนไหวร่าง ไม่รู้สำนึก
2 ทั้งทั้งที่ผู้กระทำมีหน้าที่ต้องกระทำและ
ตามหน้าที่ต้องกระทำตามข้อ 2 นั้นเป็นหน้าที่โดยเฉพาะเจาะจงซึ่งต้องกระทำเพื่อป้องกันผลที่เกิดขึ้นนั้น

หลักเกณฑ์ที่สำคัญของการกระทำโดยงดเว้นคือผู้กระทำมีหน้าที่ต้องกระทำและหน้าที่นั้นจะต้องเป็นหน้าที่โดยเฉพาะเจาะจงที่จะต้องกระทำเพื่อป้องกันมิให้เกิดผลซึ่งเกิดขึ้นนั้น
หน้าที่ต้องกระทำเพื่อป้องกันผลเกิดได้จากหลายกรณีด้วยกันดังต่อไปนี้
1 หน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติ หมายความว่ามีกฎหมายบัญญัติ หน้าที่ของผู้กระทำโดยตรงเช่นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1563 บัญญัติว่าบุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดามูลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1564 บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 146 1 สามีภรรยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกัน
2 หน้าที่อันเกิดจากการยอมรับโดยเฉพาะเจาะจง หมายความว่าผู้กระทำยอมรับโดยตรงที่จะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งทำให้เกิดหน้าที่ในอันที่จะต้องกระทำตามที่ตนยอมรับที่จะกระทำเช่นยอมรับเป็นคนเลี้ยงเด็กเป็นนางพยาบาลดูแลรักษาคนไข้เป็นคนดูแลความปลอดภัยของผู้มาว่ายน้ำในสระน้ำเป็นคนควบคุมเครื่องกั้นรถยนต์เวลาที่รถไฟแล่นผ่านถนนมีข้อสังเกตว่าการยอมรับดังกล่าวนั้นอาจจะมีค่าจ้างไม่มีค่าจ้างก็ได้โดยอาจจะเป็นอาสาสมัครเข้ามาทำก็ได้เช่นอาสาดูแลลูกของเพื่อนบ้านก็มีหน้าที่เพื่อจะป้องกันไม่ให้บุตรของเพื่อนบ้านข้างไปตกท่อน้ำตาย
3 หน้าที่อันเกิดจากการกระทำก่อนก่อนของตน หมายความว่าถ้าการกระทำของผู้กระทำน่าจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นผู้กระทำย่อมมีหน้าที่ต้องป้องกันภยันตรายนั้นตัวอย่างคนตาบอดคนหนึ่งกำลังจะเดินข้ามถนนซึ่งเขาสามารถเดินข้ามถนนได้ด้วยตนเองของเขาเองแต่แดงไปอาสาจูงคนตาบอดเดินข้ามถนนขณะที่จูงคนตาบอดอยู่กลางถนนแดงปล่อยคนตาบอดทิ้งไว้กลางถนนเพราะรี่จะวิ่งไปขึ้นรถประจำทางเช่นนี้เมื่อแดงได้ลงมือช่วยแล้วได้มีความผูกพันธ์หรือมีหน้าที่จะต้องช่วยให้ตลอดครึ่งต้องพาข้ามพ้นถนนการที่แดงทิ้งคนตาบอดไว้กลางถนนถือว่าเป็นการงดเว้นไม่กระทำในสิ่งที่ตนมีหน้าที่ต้องกระทำเพื่อป้องกันไม่ให้คนตาบอดถูกรถที่แล่นมาภายหลังชนถึงแก่ความตายเป็นหน้าที่อันเกิดจากการกระทำกับกรอบของ การกระทำก่อนก่อนของตนก็คือการอาสาจูงคนตาบอดข้ามถนน
4 หน้าที่อันเกิดจากความสัมพันธ์เป็นพิเศษเฉพาะเรื่อง หมายความว่าไม่มีกฎหมายบัญญัติหน้าที่ไว้โดยตรงต่างกับหน้าที่ตามข้อ 1 แต่เพราะผู้กระทำและผู้เสียหายมีความสำคัญพิเศษต่อกันจึงเกิดหน้าที่ขึ้น

การกระทำโดยละเว้นการกระทำโดยละเว้นต่างกับการกระทำโดยงดเว้นตรงหน้าที่เพราะหน้าที่ของการกระทำโดยละเว้นเป็นหน้าที่โดยทั่วไปส่วนหน้าที่ของการกระทำโดยงดเว้นเป็นหน้าที่โดยเฉพาะเพื่อป้องกันผลที่เกิดขึ้น
กดฟังเสียงคำบรรยายได้เลย ตรงนิ ตรงนิ 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อาวุธ ตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา

การรับมรดกความในคดีอาญา

หลักการแปลงหนี้ใหม่