ฎีกาเด่นคำบรรยายเนติ สมัยที่ 70 ครั้งที่ 2

     
         

   1. ฎ 4120/2560 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ ซึ่งค่าธรรมเนียมใช้แทนดังกล่าวนอกจากค่าทนายความแล้วยังรวมถึงค่าธรรมเนียมที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งต้องเสียไปด้วย เช่น ค่าขึ้นศาล ค่าส่งคำคู่ความ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี เป็นต้น ซึ่งค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีนั้น ต้องอยู่ในบังคับตามตาราง 7 ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โดยศาลอาจกำหนดให้คู่ความซึ่งต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 ชดให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งได้ตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควรโดยในคดีทุนทรัพย์ต้องไม่เกินร้อยละ 1 ของจำนวนทุนทรัพย์หรือในคดีที่ไม่มีทุนทรัพย์ต้องไม่เกิน 5,000 บาท ซึ่งศาลต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่คู่ความได้เสียไปรวมทั้งลักษณะและวิธีการดำเนินคดีของคู่ความ อันเป็นดุลพินิจของศาล ดังนั้นค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีจึงมิได้หมายความรวมถึง ค่าขึ้นศาลและค่าส่งคำคู่ความ

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช่ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความให้ 10,000 บาท สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีให้เป็นพับนั้น เฉพาะค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเท่านั้น ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมอื่นจำเลยที่ 1 ยังคงต้องใช้แทนให้แก่โจทก์อยู่ เมื่อปรากฏว่ามีค่าธรรมเนียมใช้แทนเป็นค่าขึ้นศาล คำสั่งคำคู่ความและค่าทนายความที่จำเลยที่ 1 ต้องวางต่อศาลชั้นต้นพร้อมอุทธรณ์เป็นเงินจำนวน 21,821 บาท แต่จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์โดยนำเพียงค่าทนายความใช้แทน 10,000 บาท มาวางศาลจึงเป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมใช้แทนเฉพาะในส่วนที่เป็นค่าทนายความ ตามที่เจ้าพนักงานศาลคิดคำนวณให้โดยสุจริตได้ไม่ เพราะเป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์ที่จะต้องตรวจสอบให้ถูกต้องเสียก่อนที่จะยื่นอุทธรณ์และวางเงินค่าธรรมเนียมใช้แทนโดยสามารถขอสำเนาบัญชีแสดงค่าฤชาธรรมเนียมที่ผู้อำนวยการสำนักงานศาลยุติธรรมประจำศาลจัดทำขึ้นแล้วตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 169 นอกจากนี้ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ได้ทันทีโดยไม่ต้องกำหนดให้จำเลยที่ 1 วางเงินค่าธรรมเนียมใช้แทนเพิ่มเติมให้ครบถ้วนเสียก่อนก็ได้ เพราะกรณีมิใช้เรื่องของการมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลไม่ถูกต้องครบถ้วน ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งให้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมให้ถูกต้องครบถ้วนได้เสียก่อนที่จะมีคำสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความ

สะกิดต่อมกฎหมาย : วางเงินค่าธรรมเนียมใช้แทนพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์

          1.ค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 229 คือค่าฤชาธรรมเนียมที่ผู้อุทธรณ์ต้องใช้ให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งได้เสียไปในการดำเนินกระบวนพิจารณา เช่น ค่าทนายความ เป็นต้น
          2.ลักษณะของเงินค่าธรรมเนียมใช้แทนตามมาตรา 229
          1) เงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาที่ผู้อุทธรณ์นำมาวางต่อศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 มิใช่เป็นการวางเพื่อชำระหนี้ให้แก่คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีในศาลชั้นต้น จึงต้องถือว่าเงินดังกล่าวยังเป็นของผู้อุทธรณ์ เงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาที่ผู้อุทธรณ์นำมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 นั้น เป็นเงินที่วางเพื่อเป็นประกันว่าหากในที่สุดศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยผู้อุทธรณ์ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมแทนคู่ความที่ชนะคดีแล้ว ผู้ชนะคดีจะมีสิทธิได้รับค่าธรรมเนียมที่ได้ออกใช้ก่อนจากเงินที่จำเลยผู้อุทธรณ์วางไว้ได้ โดยผู้ชนะคดีไม่ต้องดำเนินการบังคับคดี ไม่ใช่เป็นเงินทีชำระให้แก่อีกฝ่าย แต่เป็นเงินที่วางเพื่อใช้สิทธิในการอุทธรณ์ ผู้ชนะดคีไม่มีสิทธิรับเงินดังกล่าวไป
          2) การวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช่แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามาตรา 229 ต้องวางเป็นเงินจะหาประกันไม่ได้
              3) ผู้อุทธรณ์จะขอทุเลาการบังคับในเงินค่าธรรมเนียมไม่ได้ การขอทุเลาการบังคับในระหว่างฎีกาเป็นวิธีการทุเลาแก่ผู้ร้องที่ยังไม่ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ผู้ร้องไม่อาจขอทุเลาการที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมที่ต้องใช้แทนอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มาวางศาลพร้อมฎีกาตาม มาตรา 229
          4) การวางเงินตามมาตรา 229 ถือเป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์ ซึ่งกฎหมายบัญญัติว่า การอุทธรณ์นั้นให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษา หรือคำสั่งภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น และผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษา หรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นด้วย ดังนั้น เมื่อผู้อุทธรณ์อุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลชั้นต้น นอกจากจะต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแล้วยังต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ด้วย

          2. ฎ.4110/2560 โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามตั๋วเงินที่จำเลยสั่งจ่ายแก่โจทก์และธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยาก จึงสั่งให้นำบทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่มาใช้บังคับ โดยศาลชั้นต้นออกหมายเรียกตามมาตรา 193 วรรคหน่าง อย่างคดีมโนสาเร่ จำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลโดยชอบแล้วไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี เมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การไว้จึงถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ตามมาตรา 193 ทวิ วรรคสอง การที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การแล้วต่อมาจำเลยมาศาลก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดีและแจ้งว่าตนประสงค์จะต่อสู้คดี ศาลจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างไรต่อไปนั้น มิได้มีบทบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในหมวดวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่โดยเฉพาะ แต่มาตรา 195 บัญญัติให้นำบทบัญญัติอื่นในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีมโนสาเร่ด้วยโดยอนุโลม ซึ่งในหมวดว่าด้วยการพิจารณาโดยขาดนัดส่วนที่ 1 การขาดนัดยื่นคำให้การตามมาตรา 199 เมื่อจำเลยไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาและไม่ยื่นคำให้การอันถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การไปแล้ว ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 193 ทวิ วรรคสอง ศาลชั้นต้นจึงดำเนินกระบวนพิจารณาไปฝ่ายเดียว และเมื่อศาลชั้นต้นเลื่อนคดีไปสืบพยานโจทก์ที่เหลือ จำเลยมาศาลและขออนุญาตยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะไต่สวนให้ได้ความจริงว่าการขาดนัดยื่นคำให้การนั้นมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันสมควรหรือไม่เสียก่อน ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่าการขาดนัดยื่นคำให้การของจำเลยเป็นไปโดยจงใจ จึงไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ ย่อมเป็นกระบวนพิจารณาโดยชอบตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสอง ประกอบมาตรา 195 แล้ว และเมื่อศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะต้องสอบถามคำให้การจำเลยหรือจัดให้เจ้าพนักงานของศาลจดบันทึกรายละเอียดคำให้การของจำเลยในแบบพิมพ์ ม.2 อีก

สะกิดต่อมกฎหมาย : เมื่อศาลไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ

         เมื่อศาลไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ เนื่องจากเห็นว่าการขาดนัดยื่นคำให้กการของจำเลยเป็นไปโดยจงใจหรือไม่มีเหตุอันสมควร

          1. ผลต่อจำเลย

          1)จำเลยนำสืบพยานหลักฐานของตนไม่ได้
          2)จำเลยอ้างตนเองเป็นพยานไม่ได้
          3)จำเลยมีสิทธิถามด้านพยานโจทก์ที่อยู่ระหว่างการสืบพยานได้
          4)คำสั่งไม่อนุญาตถือเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หากจำเลยไม่เห็นด้วย ต้องโต้แย้งคำสั่งไว้จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่ง

          2.ผลต่อโจทก์

          ภายหลังศาลตรวจคำฟ้อง ศาลมีอำนานพิพากษาหรือคำสั่งดังนี้
          1) กรณีศาลเห็นว่าฟ้องโจทก์ไม่มีมูล หรือมีมูลแต่ขัดต่อกฎหมาย ศาลมีอำนาจพิพากษายกฟ้องได้ทันที
          2) กรณีศาลเห็นว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง หรือฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำ หรือฟ้องซ้อน อันเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ และพิพากษายกฟ้องได้ทันที
        3)กรณีศาลเห็นว่า ฟ้องโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ให้ศาลดำเนินการบวนพิจารณาต่อไป กรณีเป็นคดีที่กฎหมายมิได้บังคับให้ต้องสืบพยานก่อน หากศาลเห็นสมควรไม่สืบพยาน ศาลมีอำนาจพิพากษาได้ทันที แต่หากเป็นคดีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีการสืบพยานก่อน ก็ให้ศาลทำการสืบพยานหลักฐานโจทก์ไปฝ่ายเดียวและอาจเรียกพยานหลักฐานอื่นมาสืบได้เอง ตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

       3.ฎ 1351/2559 ในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยขับรถจักรยานยนต์ชนรถจักรยานยนต์ที่มีผู้ตายเป็นคนขับและโจทก์ที่2 นั่งซ้อนท้ายเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย และโจทก์ที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัส ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่าโจทก์ที่ 2 มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เห็นว่าผู้ตายมีส่วนประมาทในคดีนี้ ดังนั้นผู้ตายจึงมิใช่ผู้เสียหาย โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) ประกอบมาตรา 3 ส่วนโจทก์ที่ 2 เพียงนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับไปประสบเหตุในคดีนี้จนไดรับอันตรายสาหัสโดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์ที่ 2 กระทำการใดที่มีส่วนประมาทในคดีนี้ด้วย กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 2 มีส่วนได้เสียโดยนิตินัยในการร่วมกระทำความผิดด้วย โจทก์ที่ 2 เป็นผู้เสียหายจากเหตุในคดีนี้ เมื่อโจทก์ที่ 2 ยังเป็นผู้เยาว์ บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่ 2 จึงจัดการแทนโจทก์ที่ 2 ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5 (1) ประกอบมาตรา 3 โจทก์ที่ 2 มีอำนาจฟ้อง
4.ฎ 1041/2558 บริษัท ค.มีกรรมการทั้งหมด 9 คน จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 เป็นกรรมการของบริษัทด้วย โดยมีผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทคือ จำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อร่วมกับจำเลยที่ 2 หรือกรรมการอื่นเกิน 2 คน และประทับตราสำคัญของบริษัท มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทได้ กรณีเป็นการกระทำความผิดที่กระทำต่อนิติบุคคลซึ่งตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(3) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 บัญญัติให้ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นๆ ของนิติบุคคลเป็นผู้ฟ้องคดีและเมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทและเป็นผู้กระทำความผิดต่อบริษัท ค. ซึ่งเป็นนิติบุคคลนั้นเอง ย่อมจะไม่ฟ้องคดีแทนนิติบุคคลเพื่อกล่าวหาตัวเอง เมื่อเป็นดังนี้ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นซึ่งมีประโยชน์ได้เสียร่วมกับนิติบุคคลนั้นย่อมได้รับความเสียหาย ทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1169 ก็บัญญัติไว้ว่ากรรมการทำให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทและบริษัทไม่ฟ้องคดี ผู้ถือหุ้นคนใดคนหนึ่งฟ้องคดีได้ ดังนี้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นจึงเป็นผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ฐานรวมกันยักยอกทรัพย์ของบริษัท ค. ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรรา 28 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้ง ฯ มาตรา 4 ได้ และต้องถือว่าโจทก์ฟ้องแทนบริษัท ค. ด้วย
          ที่ประชุมใหญ่ของผู้ถือหุ้นของบริษัท ค. มีมติให้หยุดการฟ้องร้องและพิพาทระหว่างผู้ถือหุ้นกับบริษัท เป็นมติที่ไม่มีข้อความใดเลยที่แสดงว่าผู้ถือหุ้นของบริษัท ค. ซึ่งรามทั้งโจทก์ด้วย ตกลงไม่ติดใจเอาความอาญาแก่จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ต่อไป และไม่เป็นการยอมความทางอาญาในความผิดฐานร่วมกันยักยอกโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานร่วมกันยักยอกจึงไม่ต้องห้าม ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาล ฯ มาตรา 4

สะกิดต่อมกฎหมาย : ผู้เสียหายโดยนิตินัย

          บุคคลได้รับความเสียหายเนื่องจากกระทำความผิดอาญาฐานใดฐานหนึ่ง “เสียหาย” แบ่งเป็น 2 ส่วน
          1.เสียหายแห่งสิทธิที่กฎหมายคุ้มครอง เช่น ชีวิต เสรีภาพ ร่างกาย ทรัพย์ ชื่อเสียง (ต้องมี)
          2.เสียหายแห่งสิทธิโดยชอบ (ต้องไม่)
          1)ต้องไม่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดนั้นๆ
          2)ไม่เป็นผู้ยินยอมให้มีการกระทำความผิด
          3)ไม่เป็นตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุนในการกระทำความผิด

         
          

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อาวุธ ตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา

การรับมรดกความในคดีอาญา

หลักการแปลงหนี้ใหม่