การรับมรดกความในคดีอาญา













ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 29  "เมื่อผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องแล้วตายลง ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา จะดำเนินคดีต่างผู้ตายก่อนไปก็ได้
              ถ้าผู้เสียหายที่ตายนั้นเป็นผู้เยาว์ ผู้วิกลจริต หรือผู้ไร้ความสามารถ ซึ่งผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาลหรือ
ผู้แทนเฉพาะคดียื่นฟ้องแทนไว้แล้ว ผู้แทนนั้นจะว่าคดีต่อไปก็ได้"

มาตรา 29 การรับมรดกความในคดีอาญา
 ข้อพิจารณา
1.ใครตาย
-ผู้ตาย หมายถึง ผู้เสียหายที่แท้จริงเท่านั้น ไม่รวมถึงผู้มีอำนาจจัดการแทน
2.ตายเมื่อไร
-ตายเมื่อได้ยื่นฟ้องไว้แล้ว ซึ่งคำว่า ยื่นฟ้อง หมายถึง การยื่นฟ้องคดีอาญา,การยื่นคำร้องของเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ,การอุทธรณ์,การฎีกา,การขอคืนของกลางในคดีอาญา
-ซึ่งไม่หมายความรวมถึงการร้องทุกข์ แต่อย่างไรก็ตามการที่ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ในความผิดต่อส่วนตัวไว้แล้วต่อมาตาย ก็ไม่เป็นการตัดอำนาจของ พงส. ,อัยการ,ศาลที่จะดำเนินคดีต่อไป
3.ใครแทน
-ผู้บุพการี หมายถึง ทวด ปู่ย่า ตายาย บิดามารดา สืบสายโลหิตตามความเป็นจริง
-ผู้สืบสันดา หมายถึง ลูกหลาน เหลน ลี้ สืบสายโลหิตตามความเป็นจริง
 notice : กรณีผู้สืบสันดานเป็นผู้เยาว์ถือว่ามีอำนาจในการเข้ารับมรดกความ แต่ยังบกพร่องในเรื่องความสามารถในการดำเนินคดีจึงต้องมีการแก้ในข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถเสียก่อน / ศาลมีอำนาจสั่งให้แก้ไขได้ตาม ปวิพ.มาตรา 56  วรรคสอง ประกอบ ปวิอ.มาตรา 15
-สามีภริยา หมายถึง ชายหญิงที่ได้จดทะเบียนสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป...
-ในกลุ่มบุคคลผู้มีอำนาจดำเนินคดีต่างผู้ตาย หากบุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งในสิทธิในการดำเนินคดีต่างผู้ตายไปแล้วถึงแก่ความตาย ทายาทของผู้ดำเนินคดีต่างผู้ตายจะเข้ารับมรดกความจากผู้ดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม บุคคลอื่นๆ ที่มีอำนาจดำเนินคดีต่างผู้ตายได้มาแต่ต้น สามารถเข้าสวมสิทธิ์ดำเนินคดีอาญาต่างผู้ตายต่อไปได้เลย เช่น ในกรณี บิดา (บุพการี)ดำเนินคดีต่างผู้ตาย และในระหว่างการพิจารณา บิดาตาย ในกรณีนี้ มารดา(บุพการี)ของผู้ตาย ดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปได้เลย (ไม่ใช่กรณีการรับมรดกความจากบิดาผู้ตาย)
4.แทนเมื่อใด
-กรณีไม่มีกฎหมายบัญญัติเอาไว้ แต่ไม่น่าจะอยู่ภายใต้บังคับ ปวิพ.มาตรา 42
5.แทนอย่างไร
-ยื่นคำร้องเข้าในระหว่างการพิจาณาคดี ซึ่งเป็นสิทธิของบุคคลผู้มีสิทธิในการเข้ารับมรดกความว่าจะเข้ามาดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปหรือไม่ก็ได้

note: หากไม่มีตัวบุคคลเข้ามาดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปจะเกิดผลในทางกฎหมายอย่างไร มีข้อพิจาณาดังนี้
1.ในคดีอาญาแผ่นดิน
 -คดีอาญาแผ่นดินผู้เสียหายเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้ว แต่จำเลยยื่นฎีกา แม้ส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ไม่ได้เพราะโจทก์ตายแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจพิจาณาคดีต่อไปได้ โดยถือว่าผู้เสียหายฟ้องคดีอาญาแทนแผ่นดิน (418/20,1244/24, คร..830/50)

-เกิดข้อกฎหมายคือ
1.ถ้าเป็นคดีอาญาแผ่นดินถือได้ว่าผู้เสียหายฟ้องแทนแผ่นดิน
2.พยานหลักฐานศาลขั้นต้นสืบไว้หมดแล้ว
3.ศาลสูงจะพิจารณาพิพากษาต่อไปได้
4.หากผู้เสียหายฟ้องคดีอาญาแผ่นดินแล้วตายในระหว่างสืบพยานโจทก์ไม่เสร็จและไม่มีผู้ใดเข้ามาดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไป ศาลต้องยกฟ้องเพราะไม่มีการสืบพยานต่อไป ตาม ปวิอมาตรา 185
 - ข้อสงสัย
 -ยกฟ้องแล้ว ฟ้องใหม่ได้หรือไหม่
 -อัยการจะใช้อำนาจตามมาตรา 31 เข้าดำเนินคดีต่อไปได้หรือไม่

2.ในกรณีความผิดต่อส่วนตัว ไม่ถือว่าเป็นการฟ้องคดีแทนแผ่นดินเมื่อไม่มีผู้ใดดำเนินคดีต่างผู้ตาย ศาลต้องจำหน่ายคดี ตาม ปวิพ.มาตรา 132(3) + ปวิอ.มาตรา 15

// ข้อเปรียบเทียบมาตรา 29 คือผู้เสียหายตาม ปอ.มาตรา 333 วรรคสอง
"ถ้าผู้เสียหายในความผิดฐานหมิ่นประมาทตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้ บิดา มารดา คู่สมรสหรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย"
-เงื่อนไข ----> ตัวผู้เสียหายแท้จริง+ตาย+ก่อนร้องทุกข์(เท่านั้น)--->ให้อำนาจบุคคลพิเศษ(ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น)=ร้องทุกข์ในความผิดฐานหมิ่นประมาท/ให้ถือเป็นผู้เสียหายที่แท้จริง
-ต้องเป็นการให้สิทธิของผู้ตายอย่างแท้จริงจนสุดสาย หากมีกรณีการกระทำใดๆที่เป็นที่เสื่อมเสียในการดำเนินคดี ถือเป็นการตัดสิทธิบุคคลอื่นทั้งหมด ( เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการให้สิทธิ์นั้นเป็นการให้สิทธิโดยไม่สุจริต)

มาตรา 29 วรรค สอง
-ในกรณีของผู้แทนเฉพาะคดี การที่จะดำเนินคดีแทนต่อไปได้นั้นต้องได้ความแล้วว่าได้รับอนุญาตจากศาลให้เป็น
ผู้แทนเฉพาะคดี ก่อน หรือขณะยื่นฟ้อง

-การที่ผู้แทนเฉพาะคดีตาย หรือผู้มีอำนาจจัดการแทนตายก่อนฟ้องคดี ไม่ใช่กรณีตาม มาตรา 29 นี้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อาวุธ ตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา

หลักการแปลงหนี้ใหม่