บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2016

ข้อเท็จจริงในคดีอาญาส่งผลต่อคดีแพ่งอย่างไร

รูปภาพ
ข้อเท็จจริงคดีอาญาผูกพันคดีแพ่ง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 คำพิพากษาฎีกาที่ 4410/2554 ข้อเท็จจริง 1. อัยการโจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2548 เวลากลางคืนก่อนเที่ยง จำเลยทั้งสามกับพวกซึ่งหลบหนีไม่ได้ตัวมาฟ้องร่วมกันวางแผนและเตรียมไม้ ขวดสุรา และก้อนอิฐเป็นอาวุธ แล้วร่วมกันใช้ไม้ ขวดสุราและก้อนอิฐเป็นอาวุธทุบตี และชกต่อยร่างกายนายนิกรผู้ตายหลายครั้งโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ผู้ตายถูกทำร้ายที่บริเวณศีรษะ ขมับด้านซ้าย ใบหูซ้าย ริมฝีปากล่าง ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญทำให้เลือดออกทางรูหูทั้งสองข้าง กระโหลกส่วนกลางแตก กระโหลกท้ายทอยแตกร้าว เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 290 1.1 ในทางปฏิบัติเมื่ออัยการโจทก์ยื่นฟ้องจะต้องส่งตัวจำเลยมาพร้อมกับคำฟ้อง ศาลก็จะสั่งในคำฟ้องของอัยการทำนองว่า “ประทับฟ้อง หมายขัง เรียกสอบปากคำจำเลย” แต่หากจำเลยได้รับการประกันตัวระหว่างสอบสวนโดยศาลเป็นผู้อนุญาตให้ประกันตัวไปซึ่งอัยการจะยื่นฟ้องโดยไม่นำตัวจำเลยมาพร้อมกับคำฟ้องได้ กรณีเช่นนี้ ศาลจะสั่งคำฟ้องของอัยการทำนองว่า “ประทับฟ้อง หมายนัด ผู้ประกันส่งตัวจำเลย” ฯลฯ 1.2 เมื่อศาลประทับฟ้องข

อาวุธ ตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา

รูปภาพ
วันนี้เรามารู้จัก "อาวุธ" กัน อาวุธ เป็นใคร.... อาจหมายถึงน้องของพ่อที่ชื่อ "วุธ" แต่ถ้า "อาวุธ" คืออะไร ในทางกฎหมายอาญาได้มีการให้ความหมายไว้ ดังนี้ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(5) อาวุธ หมายความรวมถึงสิ่งซึ่งไม่เป็นระบบโดยสภาพแต่ซึ่งได้ใช้หรือเจตนาจะใช้ประทุษสลายร่างกายถึงอันตรายสาหัสอย่างอาวุธ "Arm" includes anything which is not a weapon by nature, but which is used or intended to be as a weapon for cusing grievous bodily harm; หลักกฎหมาย อาวุธ หมายความรวมถึงสิ่งที่ให้เป็นอาวุธโดยสภาพแต่ได้ใช้หรือเจตนาจะใช้ประทุษร้ายร่างกายถึงอันตรายสาหัสอย่างอาวุธ ข้อพิจารณา 1. อาวุธโดยสภาพ ซึ่งเป็นความหมายธรรมดา อะไรเป็นอาวุธโดยสภาพ เข้าใจได้ตามข้อความตอนที่ว่า ใช้ประทุษร้ายร่างกายถึงอันตรายสาหัสอย่างอาวุธ คืออาวุธโดยสภาพความหมายถึงสิ่งที่ใช้สำหรับทำให้เกิดอันตรายสาหัสแก่บุคคลในลักษณะปกติของสิ่งนั้น ร่างกายรวมทั้งร่างกายและจิตใจตามมาตรา 295 อันตรายสาหัสหมายความตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 297 ตัวอย่าง เช่น ปืน ดาบ หอก แหลน หลาว มีด และตะบอง ปืนอ

เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้พร้อมค่าเสียหายได้

เจ้าหนี้จะมีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้พร้อมทั้งเรียกค่าเสียหายได้ด้วยซึ่งแล้วแต่เจ้าหนี้จะเลือกใช้สิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 213  คือ เรียกให้ชำระหนี้และเรียกค่าเสียหาย "ถ้าลูกหนี้ละเลยเสียไม่ชำระหนี้ของตน เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่ง่บังคับชำระหนี้ก็ได้ เว้นแต่สภาพแห่งหนี้จะไม่เปิดช่องให้ทำเช่นนั้นได้    อนึ่งบทบัญญัติในวรรคทั้งหลายที่กล่าวมานั้น หากระทบกระทั่งถึงสิทธิที่จะเรียกเอาค่าเสียหายไม่" หรือเจ้าหนี้ก็ยังสามารถใช้สิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 391     "เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม...        การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้น หากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่" คือ บอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหาย 1.เมื่อเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องนั้น เจ้าหนี้จะต้องใช้สิทธิโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 5  2.เมื่อเจ้าหนี้เรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้นั้นหนทางที่ลูกหนี้สามารถปฏิเสธไม่ชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ได้ มีสาระสำคัญหลายเรื่องด้วยกัน สำหรับวันนี้ จะนำเสนอหลักการปฏิเสธ

วางแผนปล้นและแวะมาดูจะถือเป็นตัวการร่วมปล้นหรือไม่

นายเอกวางแผนการปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย กำหนดให้นายตรีกับพวกอีก 2 คนเข้าไปปล้นทรัพย์ในบ้านผู้เสียหายโดยนายตรีกับพวกนั้นไม่ได้คิดจะปล้นทรัพย์ผู้เสียหายมาก่อน เมื่อวางแผนการเสร็จนายเอกกับนายโทร่วมกันนะส่งนายตรีกับพวกเพื่อทรัพย์ในบ้านผู้เสียหาย โดยนายโททำหน้าที่ขับรถยนต์กระบะไปส่งจากนั้นนายเอกกับนายโทไป คอยอยู่ที่ร้านอาหารห่างจากบ้านผู้เสียหาย 100 เมตร นายตรีกับพวกแอบเข้าปล้นทรัพย์ในบ้านผู้เสียหาย ผู้เสียหายขัดขืนและต่อสู้โดยใช้อาวุธปืนยิงนายตรีกับพวก  จึงวิ่งหนีออกจากบ้านผู้เสียหายโดยไม่ได้ทรัพย์สินของผู้เสียหายไปเลย ในเวลาไล่เลี่ยกันนายเอกกับนายโทย้อนกลับมาดูบุคคลทั้ง 3 พบนายตรี ส่วนพวกอีก 2 คนหลบหนีไปแล้ว นายเอกกับนายโท จึงรับนายตรีขึ้นรถกระบะพากันหลบหนีไปมีปัญหาว่านายเอกและนายโทมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานใดหรือไม่ การที่นายเอกเป็นผู้วางแผนและกำหนดให้นายตรีกับพวกอีก 2 คน ไปลงมือกระทำการปล้นทรัพย์ผู้เสียหายโดยไม่ปรากฏว่านานตรีกับพวกคิดจะไปปล้นทรัพย์ผู้เสียหายอยู่ก่อนแล้ว ถึงได้ว่านายเอกเป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดจึงเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 84 และเมื

อย่างไรเรียกว่า "ไม่รู้เห็นเป็นใจ" ในการขอคืนของกลางในคดีอาญา

รูปภาพ
ในเรื่องของการริบทรัพย์สิน เป็นโทษในคดีอาญาสถานหนึ่งซึ่งทรัพย์สินใด กฎหมาย กำหนดไว้ว่าผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดให้ริบทรัพย์สินนั้นโดยไม่ต้องคำนึงถึงเป็นของผู้กระทำผิดและมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ นอกจากศาลจะมีอำนาจริบทรัพย์สินตามอำนาจที่กล่าว มาแล้ว  ศาลยังมีอำนาจสั่งให้ริบทรัพย์สินต่อไปนี้อีก คือ 1. ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิด 2. ทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิด 3. ทรัพย์สินที่มอบให้หรือรับไว้ สำหรับเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทรัพย์สินที่ศาลมีอำนาจริบเหล่านี้ ศาลจะไม่ริบทรัพย์สินของคนอื่นซึ่งมิได้รู้เห็นกับการกระทำความผิด ทรัพย์เป็นของใคร ใครจะขอคืนได้ 1.ผู้อื่น หมายถึงบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ดังนั้นผู้อื่นจึงต้องไม่เป็น (1) ผู้ลงมือกระทำความผิด(ด้วยตนเอง) (2) ตัวการ ผู้ร่วมกระทำความผิด (หมายความร่วมถึงการกระทำส่วนใดส่วนหนึ่งอันเป็นองค์ประกอบของความผิด) (3) ผู้ใช้ ผู้ซึ่งก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด (4) ผู้สนับสนุน ผู้ซึ่งให้ความช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการ กระทำความผิดของผู้ลงมือกระทำความผิด ด้วยเหตุนี้หากเป็นบุคคลตาม (1)-(4) ก็

แปลงหนี้ใหม่

รูปภาพ
เรื่องเล่านอกสำนวน ตอน "แปลงร่าง แปลงหนี้" “การทำหนังสือรับสภาพหนี้โดยบุคคลอื่นทำไมไม่เรียกว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้” มีข้อพิจารณา ดังนี้ 1.คนทำ ไม่มีคุณสมบัติที่จะทำหนังสือหรับสภาพหนี้ได้เนื่องจาก คนที่จะทำหนังสือรับสภาพหนีได้ต้องเป็นตัวลูกหนี้เท่านั้นจึงจะทำได้ 2.แต่เป็นหนังสือสัญญาประเภทหนึ่งอันเป็นสัญญาไม่มีชื่อ ซึ่งมีผลบังคับได้ระหว่างคู่สัญญา 3.แล้วเหตุใดจึงไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงยุติตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ได้ฟังมาว่า เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2537 จำเลยได้ทำหนังสือสัญญาตามเอกสารหมาย จ.2 ไว้ต่อโจทก์โดยมีสาระสำคัญว่าจำเลยขอรับสภาพหนี้ต่อโจทก์เนื่องจากนางสาวพเยาว์ แหลมแก้วได้รับสินค้าไปและยังค้างชำระอยู่เป็นจำนวนเงิน 342,100.35 บาท โดยจะนำหลักทรัพย์มาค้ำประกันมูลค่าหนี้ และโจทก์นำคดีมาฟ้องในวันที่ 23 กันยายน 2539 มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยในประการแรกว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่ เห็นว่าการรับสภาพหนี้เป็นการที่ลูกหนี้รับสภาพต่อเจ้าหนี้ว่าจะชำระหนี้ให้ ด

เดินผ่านที่ดินคนอื่น 10 ปี ได้เป็นทางภาระจำยอม

รูปภาพ
เดินผ่านที่ดินคนอื่น 10 ปี ได้เป็นทางภาระจำยอม ไม่ว่าจะมีทางออกทางอื่นหรือไม่ก็ตาม ก็ได้สิทธิตามกฎหมายแล้ว โดยทางกฎหมายนั้น "ทางภาระจำยอม" เกิดขึ้นได้ 2 กรณี คือ 1.โดยนิติกรรม คือการที่คู่กรณีตกลงกัน โดยเจ้าของภารยทรัยพ์ ตกลงจำกัดสิทธิของตน เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินผู้เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ 2.โดยอายุความ คือการที่ผู้เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ ได้ใช้ทรัพย์เพื่อประโยชน์ของตน โดยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาให้ได้มาซึ่งภาระจำยอม เป็นเวลา 10 ปี ดังนั้นหลักการของการได้ทางภาระจำยอมโดยอายุความ จึงพิจารณาได้ว่า... ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์   ม.1367 อสังหาริมทรัพย์อาจต้องตกอยู่ในภาระจำยอมอันเป็นเหตุให้เจ้าของต้องรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการให้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น ม.1401 ภาระจำยอมอาจได้มาโดยอายุความ องค์ประกอบของภาระจำยอม 1.ต้องมีอสังหาริมทรัพย์สองอสังหาริมทรัพย์ต่างเจ้าของกัน ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่ได้ประโยชน์เป็นสามยทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเสียประโยชน์เรียกว่าภารยทรัพย์ -สามย

การกระทำที่เกินขอบเขตแห่งการสนับสนุน

รูปภาพ
"ผู้สนับสนุนมีเจตนาเพียงแต่จะสนับสนุนในการทำร้าย แต่ผู้ลงมือกระทำเกินขอบเขตของเจตนาในการสนับสนุน  ผู้สนับสนุนต้องรับผิดเพียงใด ?" ศึกษาจากคำพิพากษาฎีกาที่ 6654/2554 ข้อเท็จจริง 1. ผู้เสียหายกับจำเลยที่ 2 มีบ้านเป็นทาวน์เฮ้าส์อยู่ติดกันอันเป็นสถานที่เกิดเหตุคดีนี้ วันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 กับพวกไปที่บ้านของจำเลยที่ 2 ส่วนผู้เสียหายกับพวกดื่มสุรากันที่ทำงานของผู้เสียหายก่อนที่ ผู้เสียหายจะกลับบ้าน โดยมีพวกของผู้เสียหายตามไปเพื่อจะรับผู้เสียหายไปตกปลา ต่อมาจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดฟันผู้เสียหายหลายครั้ง 2. อัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตาม ป.อ. มาตรา 83 , 80 , 288 ...... ซึ่งจำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้อ้างเหตุป้องกัน ส่วนจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ให้การปฏิเสธ เมื่อสืบพยานโจทก์และจำเลยเสร็จแล้ว ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 จำเลยที่ 2 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 , 86 , 391 เรียงกระทงลงโทษ ตาม ป.อ. มาตรา 91 และจำเลยที่ 3 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 391 ให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 10 ปี จำคุกจำเลยที่ 2

การรับมรดกความในคดีอาญา

รูปภาพ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 29   "เมื่อผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องแล้วตายลง  ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา จะดำเนินคดีต่างผู้ตายก่อน ไปก็ได้               ถ้าผู้เสียหายที่ตายนั้นเป็นผู้เยาว์ ผู้วิกลจริต หรือผู้ไร้ความสามารถ ซึ่งผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาลหรือ ผู้แทนเฉพาะคดียื่นฟ้องแทนไว้แล้ว ผู้แทนนั้นจะว่าคดีต่อไปก็ได้" มาตรา 29 การรับมรดกความในคดีอาญา  ข้อพิจารณา 1. ใครตาย - ผู้ตาย หมายถึง ผู้เสียหายที่แท้จริงเท่านั้น ไม่รวมถึงผู้มีอำนาจจัดการแทน 2. ตายเมื่อไร - ตายเมื่อได้ยื่นฟ้องไว้แล้ว ซึ่งคำว่า ยื่นฟ้อง หมายถึง การยื่นฟ้องคดีอาญา , การยื่นคำร้องของเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ , การอุทธรณ์ , การฎีกา , การขอคืนของกลางในคดีอาญา - ซึ่งไม่หมายความรวมถึงการร้องทุกข์ แต่อย่างไรก็ตามการที่ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ในความผิดต่อส่วนตัวไว้แล้วต่อมาตาย ก็ไม่เป็นการตัดอำนาจของ พงส . , อัยการ , ศาลที่จะดำเนินคดีต่อไป 3. ใครแทน - ผู้บุพการี หมายถึง ทวด ปู่ย่า ตายาย บิดามารดา สืบสายโลหิตตามความเป็นจริง - ผู้สืบสันดา หมายถ