วางแผนปล้นและแวะมาดูจะถือเป็นตัวการร่วมปล้นหรือไม่

นายเอกวางแผนการปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย กำหนดให้นายตรีกับพวกอีก 2 คนเข้าไปปล้นทรัพย์ในบ้านผู้เสียหายโดยนายตรีกับพวกนั้นไม่ได้คิดจะปล้นทรัพย์ผู้เสียหายมาก่อน
เมื่อวางแผนการเสร็จนายเอกกับนายโทร่วมกันนะส่งนายตรีกับพวกเพื่อทรัพย์ในบ้านผู้เสียหาย โดยนายโททำหน้าที่ขับรถยนต์กระบะไปส่งจากนั้นนายเอกกับนายโทไป คอยอยู่ที่ร้านอาหารห่างจากบ้านผู้เสียหาย 100 เมตร นายตรีกับพวกแอบเข้าปล้นทรัพย์ในบ้านผู้เสียหาย ผู้เสียหายขัดขืนและต่อสู้โดยใช้อาวุธปืนยิงนายตรีกับพวก  จึงวิ่งหนีออกจากบ้านผู้เสียหายโดยไม่ได้ทรัพย์สินของผู้เสียหายไปเลย ในเวลาไล่เลี่ยกันนายเอกกับนายโทย้อนกลับมาดูบุคคลทั้ง 3 พบนายตรี ส่วนพวกอีก 2 คนหลบหนีไปแล้ว นายเอกกับนายโท จึงรับนายตรีขึ้นรถกระบะพากันหลบหนีไปมีปัญหาว่านายเอกและนายโทมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานใดหรือไม่

การที่นายเอกเป็นผู้วางแผนและกำหนดให้นายตรีกับพวกอีก 2 คน ไปลงมือกระทำการปล้นทรัพย์ผู้เสียหายโดยไม่ปรากฏว่านานตรีกับพวกคิดจะไปปล้นทรัพย์ผู้เสียหายอยู่ก่อนแล้ว ถึงได้ว่านายเอกเป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดจึงเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 84
และเมื่อนายตรีกับผู้อื่นได้กระทำความผิดตามที่ถูกใช้แล้วนายเอกจึงต้อง
รับโทษเสมือนเป็นตัวการตามมาตรา 84 วรรค 2 แต่นายเอกหาใช่ตัวการผู้ร่วมกระทำความผิดตามมาตรา 83 ไม่เพราะนายเอกไม่ได้ร่วมลงมือกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ด้วยคงเพียงแต่วางแผนการและไปคอยอยู่ที่ร้านอาหารห่างจากบ้านผู้เสียหาย 100 เมตร จึงไม่อยู่ในลักษณะแบ่งหน้าที่กันทำหรือจะสามารถให้ความช่วยเหลือพวกของตนในการปล้นทรัพย์ได้ทันทีที่จะต้องช่วยเพราะอยู่ห่างกันมาก นายเอกซึ่งมีความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 80 มาตรา 84

สำหรับนายโทเพียงแต่ไปกับนายเอกและนายตรีกับพวก โดยเป็นผู้ขับรถยนต์กระบะไปส่งนายตรีกับพวกลงไปปล้นทรัพย์ผู้เสียหายแล้วไปนอนอยู่ที่ร้านอาหารกับนายเอกที่ได้เป็นการร่วมลงมือกระทำความผิดฐานพยายามค้นทรัพย์ด้วยและอยู่ห่างกันมากไม่อาจช่วยเหลือพวกของตนได้ทัน นายโทคงเป็นเพียงผู้สนับสนุนโดยให้การช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นทำความผิดก่อนหรือขณะกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์หาใช้เป็นตัวการผู้ร่วมกระทำความผิดไม่ นายโทจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรคหนึ่งประกอบ ด้วยมาตรา 80 มาตรา 86
ส่วนการที่นายเอกและนายโทย้อนกลับมาโดยบุคคลที่ 3 พบนายตรีจึงรับนายตรีขึ้นรถยนต์กระบะกับพวกพาหนีไปนั้น เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังจากการที่นายตรีกับผู้กระทำความผิดแล้ว ไม่ใช่เป็นการกระทำตามที่นายเอกวางแผนไว้จึงหามีผลทำให้ความรับผิดของนายเอกและนายโทเปลี่ยนแปลงไปไม่

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อาวุธ ตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา

การรับมรดกความในคดีอาญา

หลักการแปลงหนี้ใหม่