อย่างไรเรียกว่า "ไม่รู้เห็นเป็นใจ" ในการขอคืนของกลางในคดีอาญา

ในเรื่องของการริบทรัพย์สิน เป็นโทษในคดีอาญาสถานหนึ่งซึ่งทรัพย์สินใด กฎหมาย กำหนดไว้ว่าผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดให้ริบทรัพย์สินนั้นโดยไม่ต้องคำนึงถึงเป็นของผู้กระทำผิดและมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ นอกจากศาลจะมีอำนาจริบทรัพย์สินตามอำนาจที่กล่าว มาแล้ว 


ศาลยังมีอำนาจสั่งให้ริบทรัพย์สินต่อไปนี้อีก คือ
1. ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิด
2. ทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิด
3. ทรัพย์สินที่มอบให้หรือรับไว้ สำหรับเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ทรัพย์สินที่ศาลมีอำนาจริบเหล่านี้ ศาลจะไม่ริบทรัพย์สินของคนอื่นซึ่งมิได้รู้เห็นกับการกระทำความผิด
ทรัพย์เป็นของใคร ใครจะขอคืนได้

1.ผู้อื่น หมายถึงบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด
ดังนั้นผู้อื่นจึงต้องไม่เป็น
(1) ผู้ลงมือกระทำความผิด(ด้วยตนเอง)
(2) ตัวการ ผู้ร่วมกระทำความผิด (หมายความร่วมถึงการกระทำส่วนใดส่วนหนึ่งอันเป็นองค์ประกอบของความผิด)
(3) ผู้ใช้ ผู้ซึ่งก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด
(4) ผู้สนับสนุน ผู้ซึ่งให้ความช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการ กระทำความผิดของผู้ลงมือกระทำความผิด

ด้วยเหตุนี้หากเป็นบุคคลตาม (1)-(4) ก็ไม่ถือว่าเป็นคนอื่น แต่เป็นผู้กระทำความผิดในคดีเลยดีเดียว

2.รู้เห็น เป็นใจ แม้จะไม่ถึงกับเป็นการกระทำความผิดหรือมีส่วนในการกระทำความผิดด้วยจนถึงขนาดเป็นผู้สนับสนุนก็ตาม ก็ถือได้ว่ายินยอมให้มีการกระทำความผิดด้วยทรัพย์ของตน จึงไม่มีสิทธิที่จะอ้างกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นได้
"รู้เห็น" คือรู้แล้วว่ามีผู้ใช้ทรัพย์สินของตนในการกระทำความผิด
"เป็นใจ" คือยินยอมหรือละเว้นไม่ขัดขวางโดยสมัครใจให้ผู้อื่นใช้ทรัพย์ของตนกระทำความผิด ไม่ใช่เพราะความจำใจไม่สามารถขัดขวางได้หรือเพื่อจับกุมภายหลังในลักษณะที่ไม่ใช่ความยินยอมให้กระทำความผิด

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อาวุธ ตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา

การรับมรดกความในคดีอาญา

หลักการแปลงหนี้ใหม่