บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2017

สะกิดศัพท์กฎหมาย ตอนความผิดฐานทำให้เสื่อมเสียอิสรภาพ

รูปภาพ
1. ข้อเท็จจริงฟังได้ชัดว่า จำเลยได้ใช้มีดปลายแหลมจ่อจี้บังคับให้บุคคลอื่นขับรถไปให้ตามความประสงค์จำเลย ทั้งยังได้ขู่เข็ญให้เขากระโดดลงจากรถแล้วจำเลยก็ขังเอาไป เพื่อจะหนี้การถูกทำร้ายหรือการถูกจับ (According to the fact it is apparent that the accused used a sharp pointed knife to threaten another person to drive the car in accordance with his desire,  forced that person to jump out of the car and drove the car away in order to flee from being assaulted or arrested) 2. เมื่อไปพ้นแล้วจำเลยก็จอดรถทิ้งไว้ข้างทาง (After having been’ out of danger, the accused parked the car at the roadside.) 3. จำเลยไม่มีเจตนาที่จะถือเอารถคันนั้นอันจะเป็นการลักทรัพย์ (The accused did not have any intention to take possession of the car for fear of being charged with theft.) 4. แต่อย่างไรก็ดีแม้จำเลยจำไม่มีเถยจิตเป็นโจร การกระทำของจำเลยเป็นการขู่เข็ญขืนในให้เข้าจำเต้องยอมกระทำตามความประสงค์ของจำเลย (However, ever though the accused had no criminal inclination, his action was tantamount to

สะกิดหลักฎีกาปัง ฎ.22788/2555

รูปภาพ
“ทายาทคนใดครอบครองทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งกัน ทายาทคนนั้นมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้ แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความมรดก โดยอายุความ คือระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ใช้สิทธิเรียกร้อง สิทธิฟ้องคดี หากปล่อยเนิ่นนานไปจนล่วงระยะเวลาแล้ว สิทธิเช่นว่านี้จะเป็นอันยกขึ้นอ้างไม่ได้ ทั้งนี้ อายุความย่อมเป็นโทษสำหรับเจ้าหนี้ที่ปล่อยปละละเลยไม่ใช้สิทธิเรียกร้องของตน จนกระทั้งล่วงเลยอายุความที่กำหนดไว้ ซึ่งส่งผลให้ลูกหนี้มีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ได้ ดังนั้น การที่ลูกหนี้ชำระหนี้(กระทำการ งดเว้นกระทำการ ส่งมอบทรัพย์สิน) เมื่อหนี้ขาดอายุความ จึงเป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความแล้วอย่างหนึ่ง ซึ่งการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความแล้วนั้น ไม่ว่ามากน้อยเพียงใด จะเรียกคืนไม่ได้ แม้ว่าผู้ชำระหนี้จะไม่รู้ว่าสิทธิเรียกร้องขาดอายุความแล้วก็ตาม ซึ่งการชำระหนี้ของลูกหนี้ยังหมายความรวมถึงการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้เป็นหนังสือ หรือโดยการให้ประกันด้วย” คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22788/2555 ป.พ.พ. มาตรา 193/10, 193/24, 1748 วรรค หนึ่ง 1754 วรรค ท้าย มีปัญหาวินิจฉ

สะกิดศัพท์กฎหมาย ตอน ฟ้องขับไล่ออกจากอสังหาริมทรัพย์

รูปภาพ
" คดีนี้มีเหตุผลควรเชื่อว่า จำเลยทั้งต้องได้เข้าอยู่ใน ห้องพิพาทมาตั้งแต่ก่อนบิดา โจทก์ไปประเทศจีนแล้ว โดยอยู่ด้วยกันกับบิดาโจทก์ และช่วยออกค่าเช่าด้วย"  (in this case, there are reasons to believe that both defendants stayed in the room under dispute before the plaintiff's father went to china, by staying with the plaintiff's father and by helping to pay the rental.) " เมื่อบิดาโจทก์ไปประเทศจีน แล้ว โ จทก์จำเลยก็ยอยู่กันต่อมาคื อโจทก์อยู่ชั้นบน จำเลยอยู่ชั้นล่างและต่างช่ วยกันออกค่าเช่าตลอดมา" (after the plaintiff's father had gone to china, the plaintiff and defendants continued to stay on, the plaintiff occupying the upper floor and the defendants occupying the ground floor, and both patties continued to share payment of the rental.") ในการที่โจทก์จำเลยอยู่ในห้ องพิพาทนี้มาด้วยกันนั้น ได้ความว่า ผู้ให้เช่าหรือผู้แรก็ได้รู ้เห็นอยู่ด้วย และเคยเก็บค่าเช่าจากจำเลย (It is noted that the co-tenancy of the plaintiff and the defendants in the

ฎีกาเด่น คำบรรยายเนติฯ สมัยที่ 70 ครั้งที่ 3

รูปภาพ
1. คำถาม โจทก์หลายคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวฟ้องเรียนส่วนบ่างที่ดินจากจำเลย โดยฟ้องรวมกันมา การพิจารณาทุนทรัพย์ว่าคดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงหรืไม่ ต้องคัดค้านอย่างไร คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้ ฎ. 9457/2559 โจทก์ทั้งสิบฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงโดยขอให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนแบ่งแยกและโอนที่ดินพิพาท เนื้อที่ 50 ไร่ 3 งาน 39 ตารางว่า ให้แก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 10 และจำเลยที่ 1 คนละเท่ากัน ประมาณคนละ 5 ไร่ แล่ให้แก่โจทก์ที่ 1 เนื้อที่ 3 งาน 39 ตารางวา และให้จำเลยทั้งสองรับเงินจากโจทก์ทั้งสิบ 500,000 บาท เป็นเรื่องที่โจทก์ทั้งสิบแต่ละคนใช้สิทธิฟ้อเรียกส่วนแบ่งที่ดินจากจำเลยทั้งสองเป็นการเฉพาะตัว แม้โจทก์ทั้งสิบจะฟ้องรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกต่างหากจากกัน โจทก์ทั้งสิบและจำเลยทั้งสองตกลงให้จำเลยที่ 2 จดทะเบียนแบ่งแยกและโอนที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 50 ไร่ 3 งาน 39 ตารางวา แก่โจทก์ทั้งสิบ และจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ตกลงรับชำระเงิน 500,000 บาทถือว่าที่ดินพิพาทมีราคา 500,000 บาท โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 10 ฟ้องขอแบ่งที่ดินคนละ 5 ไร่ โจทก์ท

ฎีกาเด่นคำบรรยายเนติ สมัยที่ 70 ครั้งที่ 2

รูปภาพ
                   1. ฎ 4120/2560 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ ซึ่งค่าธรรมเนียมใช้แทนดังกล่าวนอกจากค่าทนายความแล้วยังรวมถึงค่าธรรมเนียมที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งต้องเสียไปด้วย เช่น ค่าขึ้นศาล ค่าส่งคำคู่ความ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี เป็นต้น ซึ่งค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีนั้น ต้องอยู่ในบังคับตามตาราง 7 ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โดยศาลอาจกำหนดให้คู่ความซึ่งต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 ชดให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งได้ตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควรโดยในคดีทุนทรัพย์ต้องไม่เกินร้อยละ 1 ของจำนวนทุนทรัพย์หรือในคดีที่ไม่มีทุนทรัพย์ต้องไม่เกิน 5,000 บาท ซึ่งศาลต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่คู่ความได้เสียไปรวมทั้งลักษณะและวิธีการดำเนินคดีของคู่ความ อันเป็นดุลพินิจของศาล ดังนั้นค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีจึงมิได้หมายความรวมถึง ค่าขึ้นศาลและค่าส่งคำคู่ความ           ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช่ค่าฤชาธรรมเน

ฎีกาเด่นคำบรรยายเนติ สมัยที่ 70 ครั้งที่ 1

1.ฎ.9151/2559 ปวิพ.มาตรา 18 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้อำนาจแก่ศาลชั้นต้นที่จะตรวจคำคู่ความที่พนักงานเจ้าหน้าที่ศาลได้รับไว้เพื่อยื่นต่อศาล หรือสั่งให้แก่คู่ความหรือบุคคลใดๆ เมื่อศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องของโจทก์ซึ่งเป็นคำคู่ความแล้วเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้ใช้แบบพิมพ์ศาลตามระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ว่าด้วยแบบพิมพ์ศาล พ.ศ.2557 ซึ่งให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป คือวันที่ 1 เมษายน 2557 ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจส่งคืนคำฟ้องให้โจทก์ทำมาใหม่ให้ถูกต้องตาม ปวิพ.มาตรา 18 วรรคสอง แม้ระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยแบบพิมพ์ศาล พ.ศ.2557 ข้อ 5 และข้อ 7 จะให้ใช้แบบพิมพ์ศาลที่เจ้าพนักงาน คู่ความ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องจัดทำ ซึ่งมีลักษณะ ขนาด รูปแบบ และมีข้อความรวมทั้งสี ขนาด และรูปแบบตัวอักษรตรงกัน หรือแตกต่างเพียงเล็กน้อยจากแบบพิมพ์ที่กำหนดไว้โดยอนุโลม และให้ใช้แบบพิมพ์เดิมที่เหลืออยู่ได้ต่อไปจนกว่าจะหมด แต่ต้องไม่เกิน 180 วัน นับแต่วันที่ประกาศใช้ระเบียบดังกล่าวก็ตาม แต่ก็เป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการตรวจคำคู่ความดังกล่าว เข้าหลักเกณฑ์ที่จะอนุโลมใช้แบบพิมพ์เดิมหรือเป็นการใช้แบบพิมพ์

หน้าที่อันเกิดจากการกระทำก่อนๆของตน

รูปภาพ
แอดนั่งแอบส่องเพื่อนในเฟสบุคอยู่พอเห็นภาพนี้แล้ว ขำ ก๊ากกก เลย ขอมือเธอหน่อยยยย  เป็นประเด็นขึ้นมาทันที “การกระทำในทางกฎหมายอาญา” -การกระทำ หมายถึง การเคลื่อนไหว หรือการไม่เคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้สำนึก คืองิ อยู่ภายใต้บังคับของจิตใจ ซึ่งหมายความว่า จะต้องมีการคิด ตกลงใจ และกระทำไปตามที่ตกลงในอันสืบเนื่องมาจากความผิด ซึ่งการกระทำโดยเคลื่อนไหวร่างกายก็อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้ว คือเอาแบบง่ายๆ บ้านๆ เลยก็ คือมีการขยับตัวของกล้ามเนื้อร่างกายก็แล้วกันไม่ว่าจะรูปแบบไหน แต่ที่น่าสนใจตามภาพคือ “การกระทำโดยการไม่เคลื่อนไหวร่างกาย” การกระทำโดยไม่เคลื่อนไหวร่างกาย ถือได้ว่าเป็นข้อยกเว้นของการกระทำโดยทั่วไป ซึ่งแยกออกได้เป็น 2 อย่าง คือ เต่นเต๊นนนนน 1.การกระทำโดยงดเว้น การกระทำโดยงดเว้นเป็นการกระทำโดยการไม่เคลื่อนไหวร่างกายอย่างหนึ่ง ตาม มาตรา 59 วรรคท้าย ที่ว่า “ การกระทำ ให้หมายความรวมถึงการให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้นโดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย” จากตัวบทในมาตรา 59 วรรคท้าย จึงเป็นการสื่อความหมายได้ว่า งดเว้นไม่กระทำในสิ่งที่ตน “มีหน้าที่” ต้องกระทำ (จัก

ฉกฉวยเอาซึ่งหน้า (วิ่งราวทรัพย์)

รูปภาพ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10976/2554 ป.อ. มาตรา 336 ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์เป็นการลักทรัพย์โดยการฉกฉวยเอาซึ่งหน้า หมายถึง "กิริยาที่หยิบหรือจับเอาทรัพย์ไปโดยเร็วรวมเป็นการกระทำอันเดียวกับการเอาไป และขณะที่ถูกเอาทรัพย์ไปผู้นั้นรู้สึกตัวหรือเห็นการฉกฉวยเอาทรัพย์นั้นไปด้วย"   การที่จำเลยดึงเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่จากกระเป๋ากางเกงของเด็กหญิง บ. แล้วเด็กหญิง บ. รู้สึกถึงการถูกดึงจึงใช้มือจับจนถูกมือของจำเลย จึงอยู่ในความหมายของการลักทรัพย์โดยการฉกฉวยเอาซึ่งหน้าอันเป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตามฟ้องแล้ว ข้อเท็จจริงแห่งคดี โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 และให้จำเลยคืนโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือใช้ราคา 2,800 บาท แก่ผู้เสียหาย จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 วรรคแรก จำคุก 3 ปี ทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้าง มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 หนึ่งในสาม คงจำคุก 2 ปี คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวล