หน้าที่อันเกิดจากการกระทำก่อนๆของตน

แอดนั่งแอบส่องเพื่อนในเฟสบุคอยู่พอเห็นภาพนี้แล้ว ขำ ก๊ากกก เลย

ขอมือเธอหน่อยยยย 

เป็นประเด็นขึ้นมาทันที “การกระทำในทางกฎหมายอาญา”
-การกระทำ หมายถึง การเคลื่อนไหว หรือการไม่เคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้สำนึก คืองิ อยู่ภายใต้บังคับของจิตใจ ซึ่งหมายความว่า จะต้องมีการคิด ตกลงใจ และกระทำไปตามที่ตกลงในอันสืบเนื่องมาจากความผิด ซึ่งการกระทำโดยเคลื่อนไหวร่างกายก็อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้ว คือเอาแบบง่ายๆ บ้านๆ เลยก็ คือมีการขยับตัวของกล้ามเนื้อร่างกายก็แล้วกันไม่ว่าจะรูปแบบไหน แต่ที่น่าสนใจตามภาพคือ “การกระทำโดยการไม่เคลื่อนไหวร่างกาย”
การกระทำโดยไม่เคลื่อนไหวร่างกาย ถือได้ว่าเป็นข้อยกเว้นของการกระทำโดยทั่วไป ซึ่งแยกออกได้เป็น 2 อย่าง คือ เต่นเต๊นนนนน

1.การกระทำโดยงดเว้น

การกระทำโดยงดเว้นเป็นการกระทำโดยการไม่เคลื่อนไหวร่างกายอย่างหนึ่ง ตาม มาตรา 59 วรรคท้าย ที่ว่า “ การกระทำ ให้หมายความรวมถึงการให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้นโดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย” จากตัวบทในมาตรา 59 วรรคท้าย จึงเป็นการสื่อความหมายได้ว่า งดเว้นไม่กระทำในสิ่งที่ตน “มีหน้าที่” ต้องกระทำ (จักต้องกระทำ) และถ้อยคำที่ว่า “เพื่อป้องกันผล” แสดงว่า หน้าที่ที่ต้อ'กระทำนั้น ต้องเป็นหน้าที่โดยเฉพาะจะต้องกระทำเพื่อป้องกันมิให้เปิดผลซึ่งเกิดขึ้นนั้น

เอางิ... ถ้าแยกรายละเอียดก็จะประมาณว่า

1.เป็นการไม่กระทำ คือ ไม่เคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้สำนึก
2.โดยผู้กระทำมีหน้าที่ต้องกระทำ และ
3.หน้าที่ที่ต้องกระทำนั้น เป็นหน้าที่ซึ่งต้องกระทำเพื่อป้องกันมิให้เกิดผลขึ้นด้วย

ว่าแล้ว  หน้าที่ที่ต้องกระทำมีอะไรบ้าง
1.หน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติ
2.หน้าที่อันเกิดจากการยอมรับโดยเจาะจง
3.หน้าที่อันเกิดจากการกระทำก่อนๆ ของตน
4.หน้าที่อันเกิดจากความสัมพันธ์เป็นพิเศษเฉพาะเรื่อง ตามนั้นนะ แหะๆๆ

ต่อไป 2. การกระทำโดยละเว้น อืมมมมม การกระโดยละเว้น ก็คือการกระทำที่ไม่เคลื่อนไหวร่างกายนั้นแระ ต่างกันนิดนึงตรงที่ว่า การกระทำโดยละเว้น ไม่มีหน้าที่โดยเฉพาะเจาะจงที่ต้องกระทำเพื่อป้องกันผล คือ เรียกว่าเป็นหน้าที่โดยทั่วไปนั้นเอง

เข้าสาระกันดีกว่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16412/2555

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ข้อแรกว่า ฟ้องโจทก์ในความผิดฐานพยายามฆ่าและฐานหลบหนีไม่หยุดให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่แจ้งเหตุและแสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสครบองค์ประกอบความผิดหรือไม่ เห็นว่า ตามฟ้องของโจทก์ได้กล่าวถึงการกระทำของจำเลยอันเป็นการพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 2 ไว้ชัดเจนแล้วว่า เมื่อรถจักรยานยนต์ที่จำเลยขับล้มลง เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 2 หมดสติ จำเลยไม่ช่วยเหลือหรือแจ้งให้ผู้อื่นไปช่วยเหลือผู้เสียหายที่ 2 อันเป็นการเล็งเห็นผลได้ว่าผู้เสียหายที่ 2 อาจถึงแก่ความตายได้ ฟ้องโจทก์ในความผิดฐานพยายามฆ่าจึงครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 แล้ว เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลยฟังได้ว่า วันเวลาเกิดเหตุจำเลยพาผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นคนรักนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ ระหว่างทางได้จับมือผู้เสียหายที่ 2 ไปกอดไว้และเกิดอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ที่จำเลยขับล้มลง ทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ตกจากรถจักรยานยนต์ได้รับอันตรายสาหัสนอนหมดสติในพงหญ้าข้างทางแล้วจำเลยหลบหนีไม่ให้ความช่วยเหลือทิ้งให้ผู้เสียหายที่ 2 นอนหมดสติในที่เกิดเหตุเป็นเวลานานถึง 8 วันและไม่แจ้งให้ผู้เสียหายที่ 1 ทราบ จนมีผู้ไปพบผู้เสียหายที่ 2 จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าการงดเว้นไม่ให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายที่ 2 อาจถึงแก่ความตายได้ เมื่อผู้เสียหายที่ 2 ไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 และมาตรา 59 วรรคท้าย ส่วนความผิดฐานหลบหนีไม่หยุดให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่แจ้งเหตุและแสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีนั้น เห็นว่า โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยได้ทิ้งผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งหมดสติอยู่ที่เกิดเหตุโดยไม่ให้ความช่วยเหลือตามสมควร และไม่ไปแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที มิได้บรรยายอ้างเหตุว่าการที่จำเลยไม่อยู่ให้ความช่วยเหลือตามสมควร พร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78 วรรคหนึ่งนั้น เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัส แม้โจทก์จะบรรยายในตอนท้ายของข้อ (1) ค. ว่า ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัสก็เป็นการบรรยายฟ้องสืบเนื่องมาจากรถจักรยานยนต์ที่จำเลยขับล้มและผลจากการที่จำเลยพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 2 เท่านั้น ฟ้องโจทก์จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานหลบหนีไม่หยุดให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่แจ้งเหตุและแสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษตามมาตรา 160 วรรคสองได้ ต้องลงโทษตามมาตรา 160 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยบางส่วน ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังขึ้นบางส่วน

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ข้อต่อไปว่า มีเหตุไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยหรือไม่ สำหรับความผิดฐานกระทำอนาจาร ฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส และฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจาร เห็นว่า ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกินสองปี ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษปรับจำเลยในแต่ละกระทงอีกสถานหนึ่ง แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกินสองปี หรือปรับแต่ละกระทงไม่เกินสี่หมื่นบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ที่โจทก์ขอให้ไม่รอการลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 4 อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นและความผิดฐานหลบหนีไม่หยุดให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่แจ้งเหตุและแสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีซึ่งเป็นกรรมเดียวกันนั้น เห็นว่า แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยอายุ 19 ปี และหลังเกิดเหตุจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายทั้งสองแล้วก็ตาม แต่จำเลยและผู้เสียหายที่ 2 เป็นคนรักกัน เมื่อรถจักรยานยนต์ที่จำเลยขับประสบอุบัติเหตุจนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัส จำเลยในฐานะคนรักของผู้เสียหายที่ 2 และไม่ได้รับบาดเจ็บมากควรช่วยเหลือผู้เสียหายที่ 2 หรือไปตามบุคคลอื่นมาช่วยเหลือผู้เสียหายที่ 2 แต่จำเลยกลับไม่กระทำและทิ้งผู้เสียหายที่ 2 ไว้ในที่เกิดเหตุ เมื่อผู้เสียหายที่ 1 ไปสอบถามถึงผู้เสียหายที่ 2 จำเลยก็ไม่ยอมบอกให้ผู้เสียหายที่ 1 ทราบ ปล่อยให้ผู้เสียหายที่ 2 ต้องทนทุกข์ทรมานเป็นเวลานานถึง 8 วัน จนกระทั่งนายอุดม ไปพบผู้เสียหายที่ 2 หากนายอุดมไม่ไปพบผู้เสียหายที่ 2 อาจทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ถึงแก่ความตายได้ ที่จำเลยแก้ฎีกาว่า จำเลยกลัวความผิดและเข้าใจผิดว่าผู้เสียหายที่ 2 ถึงแก่ความตายแล้วจึงไม่กล้าบอกหรือเล่าเรื่องให้ผู้อื่นฟัง ก็เป็นการผิดวิสัยของคนที่รักกัน พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง จึงไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น และเมื่อศาลฎีกาไม่รอการลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นแล้ว การคุมประพฤติจำเลยในความผิดฐานกระทำอนาจาร ฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส และฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจาร ย่อมไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใด จึงเห็นสมควรให้ยกเลิกการคุมประพฤติจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว

พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 อีกกระทงหนึ่ง การกระทำของจำเลยในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นและความผิดฐานหลบหนีไม่หยุดให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่แจ้งเหตุและแสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานพยายามฆ่าผู้อื่นซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 เมื่อลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งแล้ว จำคุก 5 ปี ลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 2 ปี 6 เดือน ความผิดฐานกระทำอนาจาร ฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส และฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจาร ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 กับให้ยกเลิกการคุมประพฤติในความผิดฐานดังกล่าว นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4

ข้อสังเกต ฎีกานี้ศาสตราจารย์ ดร. เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์ วิเคราะห์ไว้ใน FACEBOOK เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์ ว่า

“ (1) จำเลยขับรถโดยประมาททำให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส เพียงเท่านี้ ก็ผิดมาตรา 300 แล้ว ซึ่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ก็ลงโทษจำเลยฐานนี้ ซึ่งศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย (คือจำเลยผิดกระทำโดยประมาทจนเป็นเห็นให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส กรรมแรกตอนซิ่งรถแหกโค้งไปแล้วกรรมที่หนึ่ง และการงดเว้นของจำเลยไม่ช่วยผู้เสียหาย เป็นอีกรรมหนึ่งแยกต่างหากจากตอนแรก จึงมีผลให้ศาลลงโทษจำเลยทั้งกระทำโดยประมาท และโดยเจตนาได้ นั้นเอง  งงเด้ งงเด้)

 (2) การหลบหนีไม่ช่วยเหลือทิ้งให้ผู้เสียหายนอนหมดสติในที่เกิดเหตุนาน 8 วัน จนมี ผู้ไปพบผู้เสียหาย การกระทำส่วนนี้ ศาลฎีกาลงโทษจำเลยตามมาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 และมาตรา 59 วรรคท้าย

วิเคราะห์
 (ก) จำเลยฆ่าผู้เสียหาย เป็นการกระทาโดย งดเว้นการที่จำเลยมีหน้าที่ต้องกระทาเพื่อป้องกันผล (ผล คือ ความตายของผู้เสียหาย) เป็นหน้าที่อันเกิดจาก การกระทำก่อน ๆ ของตนกล่าวคือการขับรถล้มทาให้ผู้เสียหายตกจากรถ ซึ่งก่อให้เกิดหน้าที่ต้องช่วยเหลือผู้เสียหาย

 (ข) จำเลยมีเจตนาฆ่า ซึ่งศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เป็นเจตนาฆ่าโดยเล็งเห็นผล

(ค) จำเลยเล็งเห็นผลว่า จะทำให้ผู้เสียหายตาย (ผลเกิด) แต่เมื่อผู้เสียหายไม่ตาย (ผลไม่เกิด) จึงผิดฐานพยายามฆ่า

ฎีกานี้เป็นบรรทัดฐานได้ว่า การฆ่าโดย งดเว้นหากผลไม่เกิด ก็ผิดฐานพยายามฆ่าได้ ดังนั้น หากแม่ต้องการฆ่าลูก แม่ไม่ให้นมลูกกิน ลูกอดนมใกล้ตาย แต่มีผู้มาช่วยเหลือทัน แม่ก็ผิดฐานพยายามฆ่าลูกได้เช่นกัน แต่ถ้าเป็นการกระทำโดย ละเว้นผู้กระทำก็ไม่ผิดฐานพยายาม เช่น แดง ไม่ช่วยดาที่กาลังจะจมน้าตายไปต่อหน้า ทั้ง ๆ ที่ช่วยได้ แต่ขาวลงช่วยจนดำไม่ตาย แดงผิดมาตรา ๓๗๔ ไม่ใช่มาตรา ๓๗๔ ประกอบมาตา ๘๐ เพราะมาตรา ๓๗๔ เป็นการกระทำโดย ละเว้นซึ่งเป็นความผิดที่ไม่ต้องการผล




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อาวุธ ตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา

การรับมรดกความในคดีอาญา

หลักการแปลงหนี้ใหม่