ผู้เสียหายในคดีอาญา


การเป็นผู้เสียหายทางอาญามีตัวบุคคลได้ 3 กรณี 
คือ 1.ตัวผู้เสียหายที่แท้จริง 2.ผู้มีอำนาจจัดการแทน (ม.4,5,6) 3.ผู้รับมอบอำนาจ (ตามหลัก ปพพ.)


1.ม.2(4)(ตัวผู้เสียหายที่แท้จริง) 
การเกิดของผู้เสียหายพิจารณาดังนี้

1.มีการกระทำความผิดอาญาขึ้น 
คือเป็นการกระทำที่ครบองค์ประกอบของความผิดซึ้งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและการกระทำนั้นเป็นความผิด แม้จะมีกฎหมายบัญญัติว่าไม่ต้องรับโทษก็ตาม 
(ตรงนี้ให้ย้อยกลับไปในเรื่องโครงสร้างความรับผิดของบุคคลทางอาญา) 

2.การกระทำความผิดอาญานั้นก่อให้เกิดความเสียหายซึ่งเป็นผลโดยตรงจากผลการกระทำความผิด 
โดยเป็นความเสียหายต่อชีวิตร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างอื่นที่มี กฎหมายอาญาให้ความคุ้มครอง

3.ตัวบุคคลนั้น ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดอาญา ซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระทำตามองค์ประกอบความผิดทางอาญาได้ - ดูว่าฐานความนั้นกฎหมายมุ่งคุ้มครองอะไร/ ใคร --> ดูคุณธรรมทางกฎหมายว่าคุ้มครองใคร ไม่ใช่ดูความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง

- บุคคลธรรมดา ซึ่งตนได้ตกเป็นวัตถุแห่งองค์ประกอบความผิดทางอาญา โดยต้องมีสภาพบุคคลก่อนมีการกระทำความผิดอาญา
-บุคคลธรรมดา ซึ่งตนเองไม่ได้ตกเป็นวัตถุแห่งองค์ประกอบความผิดทางอาญาโดยตรง แต่มีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นผู้เสียหายในอันที่จะต้องดำเนินการแทนในฐานะผู้แทน หรือกลุ่มบุคคลที่ต้องรับผิดต่อคณะบุคคลหรือผู้อื่น หรือกลุ่มคณะบุคคล ซึ่งให้ถือว่าตัวบุคคลผู้เป็นตัวแทนหรือที่กฎหมายกำหนดนั้นมีอำนาจในการร้องทุกข์ได้)
--> กรมในกระทรวงกลาโหม ไม่ถือเป็นนิติบุคคล แต่กองทัพไทย/ บก/ เรือ/ อากาศ ถือเป็นนิติบุคคล
--> สำนักสงฆ์ ไม่ถือเป็นนิติบุคคล ดังนั้นผู้ดูแลกิจการเป็นผู้เสียหาย = เจ้าคณะ
--> สนามม้า ไม่ถือเป็นนิติบุคคล ดังนั้นผู้ดูแลกิจการเป็นผู้เสียหาย = นายสนามม้า
--> กองทุนหมู่บ้าน ไม่ถือเป็นนิติบุคคล ดังนั้นผู้ดูแลกิจการเป็นผู้เสียหาย = คณะกรรมการกองทุน
--> ศาลเจ้า ไม่ถือเป็นนิติบุคคล ดังนั้นผู้ดูแลกิจการเป็นผู้เสียหาย = ผู้จัดการปกครองศาลเจ้า

-นิติบุคคล ซึ่งกฎหมายบัญญัติรับรองว่ามีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย แยกออกจากตัวบุคคลธรรมดา โดยการแสดงออกผ่านทางผู้แทนนิติบุคคล
4.เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย คือไม่ใช่ตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน หรือเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องหรือผัวพันในการกระทำความผิดซึ่งตนอ้างว่าเสียหายนั้น / ความผิดเกี่ยวกับการปกครองให้ถือว่ารัฐเท่านั้นเป็น
ผู้เสียหาย ดังนั้นแม้โดยพฤติการณ์ประชาชนอาจได้รับความกระทบกระเทือนแห่งสิทธิในการกระทำนั้นๆก็ตาม แต่ไม่ถือว่าเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยตามความใน ป.วิ.อ.

2.ตัวผู้เสียหายซึ่งกฎหมายกำหนดให้มาในกรณีพิเศษ ตาม ปอ.มาตรา 333 วรรคสอง ว่า"ถ้าผู้เสียหายในความผิดฐานหมิ่นประมาทตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตร ของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย"

ข้อพิจารณา
1.ตัวคน
-บิดา มารดา คือ ต้องชอบด้วยกฎหมาย เช่น ผู้เสียหายเป็นบุตรของสามีภริยาที่ได้จดทะเบียนสมรสกัน
-คู่สมสร คือ หญิง ชาย ที่ได้จดทะเบียนสมรสกันตาม ปพพ.
-บุตร คือ บุคคลผู้มีฐานะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตาม ปพพ.
2.อำนาจ
-เป็นผู้เสียหายที่แท้จริง
-มีอำนาจดำเนินการต่างได้อย่างเป็นผู้เสียหายที่แท้จริงในความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้น
-ได้รับอำนาจตามมาตรา 29

note
การใช้อำนาจนี้เป็นการใช้อำนาจแทนผู้ตาย ซึ่งเป็นการกระทบสิทธิเพียงสิทธิเดียว ไม่ใช่ว่าทำให้บุคคลที่ระบุไว้เกิดสิทธิของตนเองเฉพาะตัว ดังนั้นเมื่อมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งใช้สิทธิในการดำเนินการแทนแล้วจะต้องมีการดำเนินการของสิทธินั้นโดยสุดสาย อันเป็นการตัดสิทธิของบุคคลอื่นที่จะดำเนินคดีได้อีก 
(เว้นแต่จะแสดงว่าการใช้สิทธิครั้งแรกนั้นเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต)

3.ผู้เสียหายได้รับมอบอำนาจ (ตามหลักตัวการตัวแทน ปพพ.)
1.ม.797 บุคคลหนึ่งตั้งบุคคลอื่นจัดการกิจการแทนตนได้
2.ม.798 กิจการใดต้องทำเป็นหนังสือการตั้งตัวแทนต้องทำเป็นหนังสือด้วย
3.ปวิอ.ม.158 การฟ้องคดีต้องทำเป็นหนังสือและลงลายมาอชื่อโจทก์
4.ปวิอ.ม.15+ปวิพ.ม.60ว.2 คู่ความต้องทำหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี
5.ปวิอ.ม.28 ผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดี
-ทนายความจะลงชื่อในช่องโจทก์ไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดีอย่างตัวการตัวแทน
-การลงลายพิมพ์นิ้วมือต้องมีพยานรับรอง 2 คน
-หนังสือมอบอำนาจไม่ต้องติดอากรแสตมป์
-กรณีการร้องทุกข์ด้วยปากไม่ต้องมอบอำนาจเป็นหนังสือก็ใช้ได้

4.อำนาจโดยรวมของผู้เสียหายในคดีอาญา
-เริ่มดำเนินคดี
1.ร้องทุกข์ ม.2(7),123,124
2.ฟ้องคดี ม.28(2)
3.เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ม.30
4.ฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ม.40
-โต้แย้งคำพิพากษา
5.อุทธรณ์ ฎีกา ม.193,216 (ในกรณีเป็นโจทก์หรือเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ)

-ระงับคดีอาญา
6.ยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ ม.38(1)
7.ถอนคำร้องทุกข์ ม.126
8.ถอนฟ้อง ม.35
9.ยอมความ ม.35+39(2)
10.ถอนอุทธรณ์ ฎีกา ม.202 ,202+225

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อาวุธ ตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา

การรับมรดกความในคดีอาญา

หลักการแปลงหนี้ใหม่