เลดี๋ จัสติส

รูปปั้นของผู้หญิงที่มีผ้าผูกตา มือข้างหนึ่งถือดาบ ส่วนอีกข้างถือตาชั่ง เธอเป็นที่รู้จักในชื่อเทพีแห่งความยุติธรรม หรือเลดี้ จัสติส สัญลักษณ์แห่งความยุติธรรม 
วันนี้ได้ดูละครเกาหลีเรื่อง "Partner" หรือเค้าแปลชื่อแบบไทยๆ ได้ว่า "พลิกรักนักกฎหมาย"
ซึ่งตามท้องเรื่องได้ให้ความหมายของสัญลักษณ์แห่งความยุติธรรมนี้ไว้อย่างน่าสนใจว่า



"พระเจ้าแห่งความยุติธรรม ทรงถือดาบอยู่ในมือข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่งถือตาชั่ง อย่างไรก็ตามดาบและตาชั่งสะท้อนถึงความยุติธรรมและเข้มงวดของกฎหมาย กฎหมายต้องมีการความยุติธรรม แต่ว่า...ผู้ที่ถือดาบและตาชั่งนั้นไม่ใช่ผู้ชาย แต่เป็นผู้หญิง ไม่ใช่พ่อผู้สงบนิ่ง ไม่หวั่นไหวต่ออุุปสรรค์ หากแต่เป็นแม่ผู้เข้าใจลูกและฟังปัญหาของลูกอย่างตั้งใจต่างหาก สำหรับลูกที่อ่อนแอ แม่ย่อมโศรกเศร้าและรับฟังทุกเรื่อง กฎหมายก็มีหัวใจของแม่"

นั้นเป็นสิ่งที่บ่งบอกเราทราบกันอย่างทั่วไป "ไม่ว่าประเทศไหน ๆ ชนชาติใด สิ่งหนึ่งที่มักถูกฝังรากของนักกฎหมายอยู่เสมอคือ ความยุติธรรมของกฎหมายไม่ได้ขึ้นอยู่ที่ตัวบทกฎหมาย หากแต่อยู่ที่ผู้ใช้กฎหมาย"
ดั่งพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรแก่ผู้สอบไล่ได้วิชาความรู้ชั้นเนติบัณฑิตยสภา สมัยที่ ๓๓ ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร ๒๙ ตุลาคม ๒๕๒๔ ว่า
“...กฎหมายนั้นไม่ใช่ตัวความยุติธรรม เป็นแต่เพียงเครื่องมืออย่างหนึ่ง สำหรับใช้ในการรักษาและอำนวยความยุติธรรมเท่านั้น การใช้กฎหมายจึงต้องมุ่งหมายใช้เพื่อรักษาความยุติธรรมไม่ใช่เพื่อรักษาตัวบทของกฎหมายเอง และการรักษาความยุติธรรมในแผ่นดิน ก็มิได้มีวงแคบอยู่เพียงแค่ขอบเขตของกฎหมาย หากต้องขยายออกไปให้ถึงศีลธรรมจรรยาตลอดจนเหตุและผลตามความเป็นจริงด้วย...”

       

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อาวุธ ตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา

การรับมรดกความในคดีอาญา

หลักการแปลงหนี้ใหม่