บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2018

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2328/2561

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2328/ 2561   ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง  ม.  142 (5),  246,  247 (เดิม) พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518  ม.  19 (7),  36 ทวิ ที่ดินพิพาทที่โจทก์และจำเลยทั้งสี่กล่าวอ้างว่าตนมีสิทธิครอบครองเป็นที่ดินที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมยังไม่ได้ออกเอกสารสิทธิ (ส.ป.ก. 4 - 01) ให้แก่ผู้ใด ซึ่งตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 19 (7) บัญญัติให้คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ซึ่งจะมีสิทธิได้รับที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ดังนี้ บุคคลหรือเกษตรกรที่จะเข้ามาอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต้องได้รับการพิจารณาและอนุมัติจากคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมก่อน แม้โจทก์จะครอบครองที่ดินพิพาทมาก่อนทางราชการประกาศเขตปฏิรูปที่ดินก็ตาม แต่เมื่อทางราชการประกาศให้ที่ดินพิพาทตั้งอยู่เป็นเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่ดินพิพาทรวมทั้งส่วนควบของที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นของสำนักงานกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2416/2561

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2416/ 2561 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  ม.  301,  420,  425 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง  ม.  176 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 บัญญัติถึงผลการถอนฟ้องว่า โจทก์อาจนำฟ้องมายื่นใหม่ได้ แสดงว่าการถอนฟ้องไม่ได้ทำให้หนี้ระงับ จึงไม่ใช่การปลดหนี้ อันเป็นเรื่องความระงับแห่งหนี้ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่างคนต่างทำละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์สามารถแยกออกจากกันได้ซึ่งต่างคนต่างต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดที่ตนกระทำ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าความเสียหายตามฟ้องเกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 เท่านั้น มิได้เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 การที่โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 1 จึงไม่ทำให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 หลุดพ้นจากความรับผิดต่อโจทก์ สำหรับจำเลยที่ 3 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 2 ต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 2 ลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้าง ส่วนจำเลยที่ 4 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความวินาศภัยตามเงื่อนไขที่กำหนดในกรมธรรม์ประกันภัย ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ที่มีต่อโ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2802/2561

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2802/ 2561   ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง  ม.  354,  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม.797 การก่อให้เกิดสัญญาต้องเกิดขึ้นโดยความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย พยานโจทก์ปาก ธ. และ ณ. ต่างเบิกความว่า พนักงานของจำเลย สาขาปทุมธานี แจ้งแก่พยานโจทก์ทั้งสองว่า หากไม่โอนเล่มทะเบียนต้องมีคนค้ำประกัน และหากจะให้ได้รับอนุมัติอย่างแน่นอนต้องโอนเล่มทะเบียนไปเป็นชื่อของจำเลย และได้ความจากคำเบิกความของพยานโจทก์ปาก ณ. เพิ่มเติมว่า พยานได้ติดต่อสอบถามความคืบหน้าจากพนักงานของจำเลยโดยตลอดว่ามีการอนุมัติสินเชื่อแล้วหรือยัง ซึ่งสอดคล้องกับคำเบิกความของพยานจำเลยปาก ด. ว่า ฉ. ผู้จัดการกลุ่มดูแลลูกค้า และการจัดสัญญาในเขตปทุมธานีของจำเลยได้มาปรึกษาพยานเรื่องที่โจทก์ติดต่อขอสินเชื่อโดยประสงค์จะทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์สามคัน ฉ. ได้แนะนำโจทก์ว่า ระหว่างที่รอการอนุมัติจากสำนักงานใหญ่ของจำเลยให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ทั้งสามคันเป็นชื่อของจำเลยก่อน ต่อมาสำนักงานใหญ่ตรวจสอบข้อมูลแล้วไม่อนุมัติคำขอสินเชื่อเช่าซื้อให้แก่โจทก์ ฉ. จึงแจ้งให้โจทก์ทราบและคืนเอกสารประกอบคำขอสินเชื่อเช่าซื้อ สมุดคู่มือจด

Lecturelaw Masure : ประเทศไทยได้กลับมีเอกราชทางศาลอย่างสมบูรณ์อีกครั้ง

รูปภาพ
 นับตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2481 เป็นต้นมา ประเทศไทยได้กลับมีเอกราชทางศาลอย่างสมบูรณ์อีกครั้ง หลังจากที่ได้เสียเอกราชทางนี้ให้แก่ประเทศมหาอำนาจต่างๆ ไปรวมเป็นเวลา 83 ปี Since 4 July 1981, Thailand has once again regained its judiciary independence after having been deprived of this independence to the great power for a period of 83 years. การที่ประเทศไทยจำต้องเสียเอกราชในทางนี้นั้นประเทศเหล่านั้นอ้างว่ากฎหมายไทยแต่เดิมมาไม่เพียงพอที่จะบังคับแก่กรณีทั้งปวงที่เกิดในสังคม ไม่มีการจัดเป็นหมวดหมู่ยากแก่การศึกษาค้นคว้าและบางอย่างก็พ้นสมัย เช่น การบีบบังคับจำเลยในคดีอาญาให้รับสารภาพโดยใช้วิธีทรมานต่างๆ เป็นต้น The reason why Thailand was forcibly deprived of this independence was because those great power alleged that Thai laws at that time were not sufficient to enforce all legal cases in society, that time was no classification of the law to facilitate the study and research, and that some of them were obsolete, such as exercising pressure on the accused in criminal case by

สะกิดศัพท์กฎหมาย : การรวบรวมพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวน

รูปภาพ
for the purpose of collecting evidence, the inquiry official has the power. เพื่อประโยชน์แห่งการรวบรวมหลักฐานให้พนักงานสอบสวนมีอำนานดังต่อไปนี้ (1)  to examine the person of the injured person with his consent or the person of the alleged offender, or any thing or place which may be used as evidence, including the taking of photographs, the drawing up of plans, or sketches, the moulding or the taking of finger prints, hand or foot-prints and the recording of any particulars likely to clarify the case. ตรวจตัวผู้เสียหายเมื่อผู้เสียหายนั้นยินยอม หรือตรวจตัวผู้ต้องหา หรือตรวจสิ่งของ หรือที่ทางอันสามารถอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ให้รวมทั้งทำภาพถ่าย แผ่นที่หรือภาพวาด จำลอง หรือพิมพ์ลายนิ้วมือ ลายมือหรือลายเท้ากับให้บันทึกรายละเอียดทั้งหลายซึ่งน่าจะกระทำให้คดีแจ่มกระจ่างขึ้น (2)  to search for articles the possessions of which constitutes an offence, or which are obtained through an offence or used or suspected of having been used for the commission of an offence o

ใจความสะกิดใจ คำบรรยายกฎหมายอาญา ม.59-106 อ.เกียรติขจร_W04_17-06-59_ปกติ

รูปภาพ
สัปดาห์ที่ ๔ โครงสร้างข้อ 1.3 คือ “ การกระทำครบองค์ประกอบภายใน ของความผิดในเรื่องนั้นๆ การกระทำที่ครบองค์ประกอบภายในของความผิดนั้นเรื่องนั้นๆ ความผิดอาญานั้น องค์ประกอบภายในโดยหลักก็คือเจตนา ทั้งนี้เพราะมาตรา 59 บัญญัติไว้ว่า บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำโดนเจตนา แต่ความผิดอาญาบางมาตรานั้น แม้ผู้กระทำไมมีเจตนา แต่ถ้ากระทำประมาท ผู้กระทำจะต้องรับผิด แต่จะต้องเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท ความผิดอาญาบางฐาน แม้ผู้กระทำไม่เจตนาและไม่ประมาท ผู้กระทำก็จะต้องรับผิด ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 59 วรรคหนึ่ง ตอนท้าย ที่ว่า เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา แสดงว่าความผิดอาญาบางฐานนั้นแม้ผู้กระทำความไม่มีเจตนาและไม่ประมาท ผู้กระทำก็จะต้องรับผิด ซึ่งจะได้แก่ความผิดลหุโทษ ทั้งนี้ตามที่มาตรา 104 บัญญัติไว้ว่า การกระทำความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายนี้ แม้กระทำโดยไม่มีเจตนาก็เป็นความผิด แต่ความผิดลหุโทษนั้น บางมาตรา ผู้กระทำต้องเจตนาหรือต้องประมาทอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงจะเป็นความผิด อันนี้ก็เป็

ใจความสะกิดใจ คำบรรยายกฎหมายอาญา ม.59-106 อ.เกียรติขจร_W03_10-06-59_ปกติ

รูปภาพ
สัปดาห์ที่ 3 วันนี้ขึ้นหัวข้อ 1.2 ซึ่งการกระทำครบองค์ประกอบภายนอกของความผิดในเรื่องนั้นๆ ความผิดอาญาแต่ละฐานส่วนใหญ่แล้วเราสามารถจะแบ่งองค์ประกอบภายนอกออกได้เป็น 3 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 คือผู้กระทำ ส่วนที่ 2 คือการกระทำ ส่วนที่ 3 คือวัตถุแห่งการกระทำ ส่วนที่ 1 " ผู้กระทำ" ผู้กระทำความผิดอาญาแบ่งแยกได้เป็น   1. ผู้กระทำความผิดเอง ผู้กระทำความผิดเองหมายความว่า ผู้นั้นได้กระทำความผิดโดยตรง รวมถึงการใช้สัตว์เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด นอกจากนั้นการใช้บุคคลผู้ไม่มีการกระทำ เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด ผู้ใช้ดังกล่าวก็เป็นผู้กระทำความผิดเอง   2. ผู้กระทำความผิดเองโดยอ้อม ผู้กระทำความผิดเองโดยทางอ้อมมีมากมายหลายรูปแบบด้วยกัน แต่รูปแบบหนึ่งที่หยิบยกขึ้นมาเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างกับผู้ใช้ตามมาตรา 84 คือรูปแบบดังต่อไปนี้ ผู้ที่ใช้หรือบุคคลที่มีการกระทำตามมาตรา 59 ให้กระทำความผิด โดยผู้ถูกใช้หรือถูกหลอกไม่ต้องรับผิดฐานกระทำโดยเจตนา เพราะไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดนั้นๆ มีข้อสังเกตว่า ผู้กระทำความผิดเองโดยอ้อมมีได้เฉพาะ ในค