ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 29 "เมื่อผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องแล้วตายลง ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา จะดำเนินคดีต่างผู้ตายก่อน ไปก็ได้ ถ้าผู้เสียหายที่ตายนั้นเป็นผู้เยาว์ ผู้วิกลจริต หรือผู้ไร้ความสามารถ ซึ่งผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาลหรือ ผู้แทนเฉพาะคดียื่นฟ้องแทนไว้แล้ว ผู้แทนนั้นจะว่าคดีต่อไปก็ได้" มาตรา 29 การรับมรดกความในคดีอาญา ข้อพิจารณา 1. ใครตาย - ผู้ตาย หมายถึง ผู้เสียหายที่แท้จริงเท่านั้น ไม่รวมถึงผู้มีอำนาจจัดการแทน 2. ตายเมื่อไร - ตายเมื่อได้ยื่นฟ้องไว้แล้ว ซึ่งคำว่า ยื่นฟ้อง หมายถึง การยื่นฟ้องคดีอาญา , การยื่นคำร้องของเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ , การอุทธรณ์ , การฎีกา , การขอคืนของกลางในคดีอาญา - ซึ่งไม่หมายความรวมถึงการร้องทุกข์ แต่อย่างไรก็ตามการที่ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ในความผิดต่อส่วนตัวไว้แล้วต่อมาตาย ก็ไม่เป็นการตัดอำนาจของ พงส . , อัยการ , ศาลที่จะดำเนินคดีต่อไป 3. ใครแทน - ผู้บุพการี หมายถึง ทวด ปู่ย่า ตายาย บิดามารดา สืบสายโลห...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น