บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2017

หน้าที่อันเกิดจากการกระทำก่อนๆของตน

รูปภาพ
แอดนั่งแอบส่องเพื่อนในเฟสบุคอยู่พอเห็นภาพนี้แล้ว ขำ ก๊ากกก เลย ขอมือเธอหน่อยยยย  เป็นประเด็นขึ้นมาทันที “การกระทำในทางกฎหมายอาญา” -การกระทำ หมายถึง การเคลื่อนไหว หรือการไม่เคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้สำนึก คืองิ อยู่ภายใต้บังคับของจิตใจ ซึ่งหมายความว่า จะต้องมีการคิด ตกลงใจ และกระทำไปตามที่ตกลงในอันสืบเนื่องมาจากความผิด ซึ่งการกระทำโดยเคลื่อนไหวร่างกายก็อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้ว คือเอาแบบง่ายๆ บ้านๆ เลยก็ คือมีการขยับตัวของกล้ามเนื้อร่างกายก็แล้วกันไม่ว่าจะรูปแบบไหน แต่ที่น่าสนใจตามภาพคือ “การกระทำโดยการไม่เคลื่อนไหวร่างกาย” การกระทำโดยไม่เคลื่อนไหวร่างกาย ถือได้ว่าเป็นข้อยกเว้นของการกระทำโดยทั่วไป ซึ่งแยกออกได้เป็น 2 อย่าง คือ เต่นเต๊นนนนน 1.การกระทำโดยงดเว้น การกระทำโดยงดเว้นเป็นการกระทำโดยการไม่เคลื่อนไหวร่างกายอย่างหนึ่ง ตาม มาตรา 59 วรรคท้าย ที่ว่า “ การกระทำ ให้หมายความรวมถึงการให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้นโดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย” จากตัวบทในมาตรา 59 วรรคท้าย จึงเป็นการสื่อความหมายได้ว่า งดเว้นไม่กระทำในสิ่งที่ตน “มีหน้าที่” ต้องกระทำ (จัก

ฉกฉวยเอาซึ่งหน้า (วิ่งราวทรัพย์)

รูปภาพ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10976/2554 ป.อ. มาตรา 336 ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์เป็นการลักทรัพย์โดยการฉกฉวยเอาซึ่งหน้า หมายถึง "กิริยาที่หยิบหรือจับเอาทรัพย์ไปโดยเร็วรวมเป็นการกระทำอันเดียวกับการเอาไป และขณะที่ถูกเอาทรัพย์ไปผู้นั้นรู้สึกตัวหรือเห็นการฉกฉวยเอาทรัพย์นั้นไปด้วย"   การที่จำเลยดึงเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่จากกระเป๋ากางเกงของเด็กหญิง บ. แล้วเด็กหญิง บ. รู้สึกถึงการถูกดึงจึงใช้มือจับจนถูกมือของจำเลย จึงอยู่ในความหมายของการลักทรัพย์โดยการฉกฉวยเอาซึ่งหน้าอันเป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตามฟ้องแล้ว ข้อเท็จจริงแห่งคดี โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 และให้จำเลยคืนโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือใช้ราคา 2,800 บาท แก่ผู้เสียหาย จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 วรรคแรก จำคุก 3 ปี ทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้าง มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 หนึ่งในสาม คงจำคุก 2 ปี คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวล

รีดเอาทรัพย์

รูปภาพ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12685/2558 ป.อ. มาตรา 338 การขู่เข็ญว่าจะเปิดเผยความลับซึ่งเป็นองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 338 หมายความว่า “การขู่เข็ญว่าจะเปิดเผยเหตุการณ์ข้อเท็จจริงที่ไม่ประจักษ์แก่บุคคลทั่วไป และเป็นข้อเท็จจริงที่เจ้าของความลับประสงค์จะปกปิดไม่ให้บุคคลอื่นรู้”  ดังนี้ ความลับจึงไม่จำเป็นต้องเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือผิดศีลธรรมอันดีของประชาชน หากเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงและเจ้าของข้อเท็จจริงประสงค์จะปกปิดไม่ให้บุคคลอื่นรู้ก็ถือว่าเป็นความลับแล้ว เมื่อฎีกาของจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีภริยาอยู่แล้ว แต่จำเลยกับผู้เสียหายสมัครใจมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกันมาประมาณ 1 ปี ข้อเท็จจริงที่จำเลยกับผู้เสียหายมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกันจึงเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจริง เมื่อเป็นการกระทำที่ผิดศีลธรรมอันดีของประชาชน แสดงว่าผู้เสียหายประสงค์จะปกปิดไม่ให้บุคคลอื่นโดยเฉพาะภริยาจำเลยรู้เรื่องดังกล่าว เรื่องนั้นจึงเป็นความลับของผู้เสียหาย การที่จำเลยขู่เข็ญผู้เสียหายว่าหากผู้เสียหายไม่นำเงินจำนวน 20,000 บาท มาให้จำเลย จำเลยจะนำเรื่องความสัมพันธ์ฉันชู้สา